การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพื่อส่งเสริมการลดใช้สารเคมีในชุมชน ศึกษาเปรียบเทียบภาวะสุขภาพเพื่อส่งเสริมการลดใช้สารเคมีในชุมชน ศึกษาการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษของเกษตรกรในชุมชนสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ตัวแทนเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวของจังหวัดสระบุรี จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (T-Test) ผลการวิจัยมีดังนี้การจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนเฉลี่ย พบว่า ข้าวนาปีแบบใช้สารเคมี มีต้นทุนรวมเฉลี่ยสูงกว่าข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมี คือ 4,330 บาทต่อไร่ และ 3,906 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนกำไรเฉลี่ยของข้าวนาปีแบบใช้สารเคมีน้อยกว่าข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมี คือ 5,570 บาทต่อไร่ 6,054 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี พบว่า ความคุ้มค่าในการลงทุนเพาะปลูกข้าวแบบไม่ใช้สารเคมีมากกว่าแบบใช้สารเคมี จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปีแบบไม่ใช้สารเคมีมากกว่าแบบใช้สารเคมี จากการเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี จำนวน 24 คน พบว่า เกษตรกรไม่มีอาการแสดงความผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 91.67 และมีอาการผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 8.33 จากการสุ่มเมล็ดข้าวของเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี จำนวน 12 แปลง (เกษตรกร 1 คนต่อแปลงข้าว 1 แปลง) เพื่อหาปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างใน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทรอยด์และกลุ่มคาร์บาเมต ด้วยเครื่อง Gas Chromatography (GC) พบว่า มีการปนเปื้อน จำนวน 8 แปลงซึ่งเป็นสารคลอร์ไพริฟอส ซึ่งอยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต เมื่อทำการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบว่า มีค่าเกินมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดจำนวน 5 แปลง คิดเป็นร้อยละ 41.67 ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปศึกษาหาปริมาณการรับสัมผัสต่อวัน (Average daily dose; ADD) จากการบริโภคข้าวของเกษตรกร ซึ่งพบว่า ปริมาณการรับสัมผัสต่อวันของเกษตรกร จำนวน 8 คน มีค่าระหว่าง 0.0015-0.0082 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่า Acceptable Daily Intake (ADI) หรือ ค่าที่ยอมรับได้ในการรับสารเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยน้ำหนัก) คือที่ระดับ 0.001 พบว่า เกษตรกรทั้ง 8 คน ได้รับสารเกินกว่าค่าที่กำหนด อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการได้รับสารคลอร์ไพริฟอส จึงนำไปคำนวณหาค่า Hazard Quotient (HQ) ซึ่งพบว่ามีค่าน้อยกว่า 1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับผลการศึกษาการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ และการศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีของเกษตรกรในชุมชนด้วยการใช้กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้วิจัย เกษตรกรและผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า โดยรวมเกษตรกรให้การยอมรับต่อแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตข้าวปลอดสารพิษทั้ง 8 ด้านเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 ซึ่งมีเกณฑ์การยอมรับอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจของเกษตรกรโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากเช่นเดียวกัน