ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
dc.contributor.author | เอกอนงค์ ศรีสำอางค์ | |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ เจริญพูล | |
dc.contributor.author | รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน | |
dc.date.accessioned | 2025-02-20T08:06:37Z | |
dc.date.available | 2025-02-20T08:06:37Z | |
dc.date.issued | 2024-05-28 | |
dc.description.abstract | รายงานวิจัย เรื่อง “ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากประชากรที่หลากหลายจำนวน 2,641 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเชิงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ได้แก่ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 สถิติคำร้องตามมาตรา 213 การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและของต่างประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนทั่วไปมีความรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพ หน้าที่ของคนไทย หน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยมีหน้าที่ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หน้าที่เสียภาษีอากร ด้านความเข้าใจต่อการยื่นคำร้องประชาชนมีความเข้าใจในระดับน้อย ด้านทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการยื่นคำร้องเห็นว่า ผู้ที่ยื่นคำร้องโดยตรงได้ดีที่สุดคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิ ด้านกระบวนการยื่นคำร้องจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำร้องมากขึ้นหากมีการกำหนดรูปแบบการร้องทุกข์ต่อศาลรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน ด้านการรับคำร้องจะเป็นประโยชน์หากมีการจัดหาบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำในการเขียนคำร้องแก่ผู้มายื่นคำร้องที่ตามหลักเกณฑ์ถูกต้อง และด้านความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องประชาชนคาดหวังว่าจะมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ด้านกระบวนการขั้นตอนการยื่นคำร้องและการพิจารณาคดีของศาล ประชาชนคาดหวังว่าขั้นตอน กระบวนการดำเนินงาน มีความชัดเจน และด้านผลของคดีประชาชนคาดหวังว่าคำวินิจฉัยจะเป็นที่ยอมรับของคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย | |
dc.identifier.issn | 16859855 | |
dc.identifier.issn | 27303896 | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3962 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารสถาบันพระปกเกล้า | |
dc.relation.ispartofseries | ปีที่ 22; ฉบับที่ 1 | |
dc.subject | ศาลรัฐธรรมนูญ | |
dc.subject | ระบับัการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ | |
dc.subject | สิทธิิของพลเมือง | |
dc.subject | สิทธิทางการเมือง | |
dc.title | ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความคาดหวังต่อการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 | |
mods.location.url | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/266476/183027 |