การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

Default Image
Date
2024-12-23
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Article
Publisher
Journal Title
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน
Recommended by
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอรูปแบบและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้นแบบของชุมชนการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนความสำคัญ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความวิชาการ บทความวิจัยรวมถึงการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหรือการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวสำหรับเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ โดยชุมชนมีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรกรรมภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศ การนำเสนอวิถีชีวิตด้านการเกษตรโดยเกษตรกรอย่างใกล้ชิด นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิทยาการเกษตรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเกษตรกรที่มีประสบการณ์และความภูมิใจเพื่อที่จะนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้และเกิดจิตสำนึก เข้าใจ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ พร้อมกับสัมผัสบรรยากาศของชุมชน การจำหน่ายสินค้าการเกษตร รวมถึงสินค้าเกษตรแปรรูปและยังเป็นการพัฒนาความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ตอบสนองกลุ่มคนเมืองที่มีความสนใจในวิถีชีวิตชนบท สัมผัสกับธรรมชาติ ร่วมกิจกรรมนันทนาการในชุมชน แสวงหาวิถีชีวิตที่สงบสุขและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตจากกิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร ประโยชน์สำคัญจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของสังคมและชุมชน โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษา ทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหา และอุปสรรครวมถึงแผนพัฒนาปรับปรุงการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนโอกาสการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ 5) สร้างการตลาดในยุคดิจิทัลเพื่อขยายฐานของการท่องเที่ยว 6) ออกแบบการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัย และ 7) ส่งเสริมการดูแลการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Description
Citation
วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 3, หน้า 313-333.
View online resources
Collections