มาตรการทางกฎหมายสำหรับธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเมืองอยุธยาอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน

Default Image
Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
มาตรการทางกฎหมายสำหรับธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเมืองอยุธยาอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน 3) เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณ (Quality method) และเชิงคุณภาพ (Mixed-method) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในแต่ละภูมิภาค รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Quota Sampling) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง รวมถึงวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยทำการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ นักวิชาการ ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน โดยวิธีเจาะจง และวิจัยเชิงเอกสาร (Document research) รวมถึงการวิจัยจากการสนทนากลุ่ม โดยวิธีสนทนากลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการเชิญผู้แทนจากด้านต่าง ๆ จำนวน 15 ท่าน โดยผลการวิจัยมีดังนี้ 1. พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคำว่า “โรงแรม” ไว้และได้ยกเว้นสถานที่พักไม่เป็นโรงแรมไว้ โดยที่กฎกระทรวงกําหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 มาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 13 ได้ให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจโรงแรม ในข้อที่ 1 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ว่า ให้สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกิน 4 ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 คน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด ไม่เป็นโรงแรมตาม (3) ของบทนิยามคำว่า “โรงแรม” ในมาตรา 4 และกําหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2554 ได้ปรากฏบทนิยามที่ชัดเจนในข้อ 4 ซึ่งระบุว่า “โฮมสเตย์ไทย” ส่วนในต่างประเทศนั้นก็มีกฎหมายโฮมสเตย์ อาทิ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กำหนดให้การประกอบกิจการสถานที่พักโฮมสเตย์ โดยหลักมีขนาดไม่เกิน 5 ห้องพักและมีพื้นที่รวมไม่เกิน 150 ตารางเมตร ในส่วนของญี่ปุ่นได้ออกมาตรการกำกับดูแลที่พักในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการเสื่อมสภาพของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นผลมาจากเสียงของผู้เช่าหรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้เช่า โดยพระราชบัญญัติการแบ่งปันบ้านซึ่งควบคุมการเช่าบ้านระยะสั้นมีกรอบการกำกับดูแลแยกจากการเช่าห้องของสถานที่อยู่อาศัยแก่นักท่องเที่ยวเพื่อผลกำไรที่ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโรงแรม ส่วนการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ในมาเลเซียนั้นไม่ได้มีความหมายอย่างเช่นการประกอบธุรกิจโรงแรม เนื่องจากโฮมสเตย์จะเป็นที่พักแรมในลักษณะนักท่องเที่ยวจะเข้าพักร่วมกับครอบครัว เพื่อให้มีการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรม โดยจะต้องจดทะเบียนตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการท่องเที่ยวมาเลเซีย 2. การประกอบธุรกิจโฮมสเตย์เมืองอยุธยานั้นชาวบ้านในท้องถิ่นมีการรวมกลุ่มกัน รวมถึงสมาชิกของกลุ่มหรือชมรมเป็นเจ้าของและมีการบริหารจัดการโฮมสเตย์ร่วมกัน จัดให้มีที่พักให้นักท่องเที่ยวเข้าพักในบ้านชายคาเดียวกันกับเจ้าบ้าน และมีกิจกรรมที่ให้โอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากเอกลักษณ์ของท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นซึ่งเป็นไปตามเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวโฮมสเตย์มาแต่ดั้งเดิมและเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน การประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ชาวบ้านในเมืองอยุธยาจึงมีความหมายมากกว่าการเป็นเพียงแค่ที่พักโฮมสเตย์ ตามนิยามโฮมสเตย์ไทยในประกาศกรมการท่องเที่ยว ในส่วนของต่างประเทศนั้น ไต้หวันกำหนดไว้ให้มีขนาดไม่เกิน 5 ห้องพักและพิจารณาจากพื้นที่รวมไม่เกิน 150 ตารางเมตร ส่วนประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลได้ออกมาตรการกำกับดูแลที่พักในประเทศญี่ปุ่นมิได้มีการกำหนดจำนวนห้องพักหรือขนาดพื้นที่หรือจำนวนผู้เข้าพักแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศมาเลเซียเน้นให้มีการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรม 3. ควรมีมาตรการทางกฎหมายที่ไม่ขัดกับบรรยากาศการทำธุรกิจเพื่อเอื้อต่อการประกอบธุรกิจในการส่งเสริมผู้ประกอบการและชุมชนต่าง ๆ ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงเพื่อเป็นการป้องกันเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ หรือหน่วยงานของรัฐมาแสวงหาผลประโยชน์จากช่องทางของกฎหมาย โดยควรออกเป็นกฎหมายลำดับรองในลักษณะกฎกระทรวงเพื่อสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่า
Description
Citation
View online resources
Collections