การบริหารจัดการข้าวไร่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้รูปแบบธนาคารข้าว : กรณีศึกษา ชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ จังหวัดสุพรรณบุรี
dc.contributor.author | มณฑล สุวรรณประภา | |
dc.contributor.author | พีรดา พงษ์ทอง | |
dc.contributor.author | นงนุช ผ่องศรี | |
dc.contributor.author | กนกอร เนตรชู | |
dc.contributor.author | ฐปนรรฆ์ ฮาบสุวรรณ์ | |
dc.contributor.author | อนุชิต สวัสดิ์ตาล | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่และสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตข้าวไร่ของชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกในการบริหารจัดการข้าวไร่ในรูปแบบธนาคารข้าว โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มของชุมชนตามหลักการ 5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมติดตามประเมินผล โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ชุมชาวชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ มีทั้งหมด 50 ครัวเรือน ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักโดยการปลูกพืชไร่หมุนเวียนตามฤดูกาลและราคาของผลผลิตทางการเกษตรในส่วนของการปลูกข้าวไร่เป็นการปลูกตามฤดูกาลโดยเริ่มปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน มีพื้นที่การเพาะปลูกโดยเฉลี่ยประมาณ 6 ไร่ต่อครัวเรือน จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายและในภายนอกของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้าวไร่ของชุมชนด้วยวิธีการ SWOT Analysis พบว่า ชุมชนมีความเข้มแข็งทางด้านวัฒนธรรมการปลูกข้าวและความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าว แต่ขาดการบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในชุมชน และการอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าว รวมทั้งการอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว ดังนั้น ในการบริหารจัดการข้าวไร่ในรูปแบบธนาคารข้าวของชุมชน ควรดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นจากสมาชิกภายในชุมชน โดยการกำหนดระเบียบข้อบังคับตามความต้องการของสมาชิก ความเหมาะสมทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และสภาพเศรษฐกิจของชุมชน และเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนของผู้นำชุมชน และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการธนาคารข้าว ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการผลผลิตข้าว วัฒนธรรมการปลูกข้าว ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7229 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | กะเหรี่ยง -- ชุมชน | |
dc.subject | ข้าว | |
dc.title | การบริหารจัดการข้าวไร่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้รูปแบบธนาคารข้าว : กรณีศึกษา ชุมชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านตะเพินคี่ จังหวัดสุพรรณบุรี | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2615 |