การจัดการสารหนูที่สะสมในผักสวนครัวและปนเปื้อนในน้ำและการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารหนู
dc.contributor.author | ปารินดา สุขสบาย | |
dc.contributor.author | ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ | |
dc.contributor.author | ปริศนา เพียรจริง | |
dc.contributor.author | รุจิรา ดลเพ็ญ | |
dc.contributor.author | พันชัย เม่นฉาย | |
dc.date.accessioned | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.date.available | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา 1) การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคสารหนูที่ปนเปื้อนในอาหาร 2) การใช้สารปรับปรุงดินที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดสารหนูที่สะสมในผักสวนครัว 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมต้นแบบของระบบคอลัมน์แบบไหลต่อเนื่องในการบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนสารหนู และ 4) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของการจัดการสารหนูที่สะสมในผักสวนครัวและที่ปนเปื้อนในน้ำและการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคสารหนูที่ปนเปื้อนในอาหารแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคสารหนูที่ปนเปื้อนในอาหาร โดยประเมินปริมาณสารหนูที่ตกค้างในดินน้ำ และพืชบริเวณพื้นที่ทิ้งกากแร่จากการถลุงโลหะดีบุก และพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ในพื้นที่หมู่ 2 และเขตปลายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่หมู่ 12 โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน และ กรกฎาคม พ.ศ. 2562 และประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารหนู ซึ่งผลการศึกษาปริมาณสารหนูในดินพบว่า ความเข้มข้นของสารหนูมีค่าระหว่าง Below detection limit (BDL) ของเครื่อง - 1.143 mg/Kg โดยพบค่าน้อยที่สุดที่บริเวณดินในลำธารหมู่ 12 ซึ่งตรวจวัดความเข้มข้น ได้ที่ระดับ BDL ในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนค่าที่มากที่สุดพบในบริเวณน้ำตกในเขตหมู่ 2 คือ มีค่า 1.143 mg/Kg โดยปริมาณความเข้มข้นของสารหนูในดินนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา และสถานที่จากการศึกษาปริมาณสารหนูในแหล่งน้ำทั้งหมด 4 ตัวอย่าง พบว่า ค่าความเข้มข้นของสารหนูทั้งหมดในตัวอย่างน้ำ มีค่าระหว่าง 0.002 ถึง 0.030 mg/L โดยพบปริมาณสารหนูมากที่สุดที่จุดเก็บตัวอย่างจากน้ำก๊อกในบ้านในเดือนเมษายน มีค่า 0.030 mg/L รองลงมาคือ น้ำจากน้ำตก บริเวณหมู่ที่ 2 โดยมีค่า 0.018 มิลลิกรัม/ลิตร และน้อยที่สุดคือ มีค่าความเข้มข้นของสารหนูที่มาจากลำธารบริเวณหมู่ที่ 12 โดยมีค่า 0.002 mg/L ซึ่งปริมาณสารหนูในน้ำผิวดินโดยส่วนใหญ่มีค่าเกินมาตรฐานการปนเปื้อนสารหนูในน้ำผิวดินของประเทศไทยคือ 0.01 mg/L จากพืชตัวอย่างทั้งหมด 10 ชนิด พบความเข้มข้นของสารหนูในพืชในส่วนต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน โดยพบว่า ค่าความเข้มข้นอยู่ระหว่าง BDL– 2.403 mg/Kg wet weight โดยค่าที่ปริมาณมากที่สุดพบอยู่ในก้านของต้นบอน (Colocasia gigantea Hook.f.) ที่เก็บจากบริเวณบ่อกากแร่ ในเดือนกุมภาพันธ์ รองลงมาคือ รากของตะไคร้ คือ มีค่า 2.308 mg/Kg wet weight เมื่อนำค่าสารหนูที่มากที่สุดจากพืชคือ ก้านบอน ผลพริก ผลเงาะ และน้ำดื่มมาประเมินการรับสัมผัส หรือ EDI และความเสี่ยงทางสุขภาพ (THQ) พบว่า การรับสัมผัสในแต่ละวันสูงสุด คือ 2.739 mg/Kg BW/day จากการบริโภคน้ำดื่มที่เป็นน้ำก๊อกในครัวเรือน ส่วนการบริโภคพืชผักผลไม้มีค่า EDI สูงสุดจากการบริโภคบอนใน อัตรา 5 g/day คือ 0.548 mg/Kg BW/day และผลเงาะในอัตรา 85 g/day คือ 0.729 mg/Kg BW/day เมื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ หรือ THQ พบว่าเมื่อพิจารณาคำนวณแยกแต่ละอาหารที่เลือกมาคำนวณนั้น มีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากค่า THQ น้อยกว่า 1 แต่เมื่อพิจารณาว่าหากบริโภคอาหารทุกชนิดในแต่ละวัน ตลอดช่วงอายุขัยในอัตราการบริโภคที่กำหนด พบว่า มีอาจเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพเนื่องจากค่า THQ รวมกันเกิน 1 คือ 1.517 จากการศึกษานี้ พบว่าประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงบ่อกากแร่ ไม่ควรนำผักที่เพาะปลูกบริเวณบ่อกากแร่มาบริโภค และควรดื่มน้ำจากแหล่งอื่นเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพ ส่วนผลการใช้สารปรับปรุงดินที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดสารหนูที่สะสมในผักสวนครัว โดยประยุกต์ใช้ดินขาว ดินแดง และแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์เพื่อลดปริมาณการสะสมของสารหนูในกะเพรา และคะน้าปลูกในดินที่ปนเปื้อนสารหนูพบว่า เมื่อความเข้มข้นของสารหนูที่ปนเปื้อนในดินเริ่มต้น ประมาณ 103.66±1.52 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดิน โดยการทดลองเป็นการปลูกกะเพรา และคะน้าในดินที่ปนเปื้อนสารหนูโดยใช้ดินขาว 1, 3, 5 % w/w ดินแดง 1, 3, 5 % w/w, แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ 1, 3, 5 % w/w และ ดินขาว 5 % w/w+ ดินแดง 5 % w/w +แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ 5 % w/w เติมในดินที่ปนเปื้อนสารหนูในการปลูกกะเพรา และคะน้าซึ่งผลการทดลองพบว่า หลังการเก็บเกี่ยวกะเพราและคะน้า 45 วัน พบว่า ต้นกะเพราที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนสารหนูที่มีการเติมดินขาว 5 % w/w+ ดินแดง 5 % w/w + แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ 5 % w/w เป็นสารปรับปรุงดินเป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดในการลดการสะสมของราก ลำต้น และใบขัวได้ดีที่สุด โดยมีปริมาณสารหนูที่สะสมในใบของกะเพรา และคะน้าเหลือเพียง 1.70±0.10 และ 1.80±0.10 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ตามลำดับ และปริมาณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขของที่กำหนดไว้ให้มีสารหนูในอาหารไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการใช้ดินขาว 5 % w/w+ ดินแดง 5 % w/w + แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ 5 % w/w มีศักยภาพที่สามารถลดสารหนูที่สะสมในใบของกะเพรา และคะน้าได้สูงกว่าการใช้สารปรับปรุงดินด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ ส่วนผลพัฒนา นวัตกรรมต้นแบบของระบบคอลัมน์แบบไหลต่อเนื่องในการบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนสารหนูโดยศึกษาบำบัดน้ำปนเปื้อนสารหนูด้วยระบบคอลัมน์แบบไหลต่อเนื่องที่บรรจุตัวดูดซับดินขาวและดินลีโอนาร์ไดต์ พบว่า ดินลีโอนาร์ไดต์เผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพในการบำบัดสารหนูที่ปนเปื้อนในน้ำสูงกว่าดินขาว และดินลีโอนาร์ไดต์ที่ไม่ได้เผา อาจจะเนื่องมาจากคุณสมบัติของพื้นผิวที่เพิ่มขึ้น โครงสร้างของผลึกที่เปลี่ยนไป หมู่ฟังก์ชันที่จำเพาะส่งผลต่อการจับกับสารหนู นอกจากนี้ การบรรจุตัวดูดซับให้มีความสูงมาก และอัตราการไหลช้าจะเพิ่มการดูดซับให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การศึกษาดินลีโอนาร์ไดต์เผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ในระบบคอลัมน์ใช้ความเข้มข้นสารหนู เริ่มต้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณตัวดูดซับ 60 กรัม อัตราการไหล 5 มิลลิลิตรต่อนาที มีค่าความเข้มข้นสารหนูที่เวลาใด ๆ ต่อความเข้มข้นเริ่มต้นสารหนู (Ct/C0) เท่ากับ 0 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของตัวดูดซับที่สามารถดูดซับสารหนูได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยสารหนูจับกับตัวดูดซับด้วยพันธะเคมีที่ยากต่อการชะล้างด้วยน้ำกลั่น การขยายสเกลคอลัมน์เป็นคอลัมน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เซนติเมตร สูง 122 เซนติเมตร พบว่า เมื่อบรรจุตัวดูดซับดินลีโอนาร์ไดต์ 10 กิโลกรัม ผสมกับถ่านกัมมันต์ใช้ความเข้มข้นสารหนูเริ่มต้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการไหลของน้ำที่ 1.7 ลิตรต่อนาที มีค่า Ct/C0 เท่ากับ 0.05 อยู่ในช่วง 64 ชั่วโมง และยังสามารถดูดซับสารหนูต่อได้อีก เนื่องจากเวลาสมดุลการดูดซับเกิดในช่วงเวลาที่ยาวนานมากกว่า 168 ชั่วโมง ดังนั้นคอลัมน์นี้เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับน้ำปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่จริงซึ่งมีการปนเปื้อนสารหนู 0-6 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดการปนเปื้อนในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร จะสามารถลดการปนเปื้อนสารหนูได้เป็นระยะเวลานาน | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6696 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | สารหนู | |
dc.subject | สารหนู -- การปนเปื้อน | |
dc.subject | ผักสวนครัว | |
dc.title | การจัดการสารหนูที่สะสมในผักสวนครัวและปนเปื้อนในน้ำและการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารหนู | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2508 |