การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ในวิชาวิจัยและนวัตกรรม และศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก

Default Image
Date
2024
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โดยการใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ในวิชาวิจัยและนวัตกรรม และศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 99 คน และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก จำนวน 118 คน ประจำปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในทั้ง 2 รายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินผลการเรียนรู้ (Course learning outcome) แบบทดสอบความรู้ในรายวิชาศักยภาพการนำฯ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00, 0.67-1.00 และ 0.67-1.00 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินผลการเรียนรู้ และแบบทดสอบความรู้ได้ 0.90 และ 0.65 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการเรียนรู้รายวิชาวิจัยและนวัตกรรม ผลการเรียนรู้ทุกด้าน ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.94, 3.64, 3.73, 3.97, 3.69 และ 91.33, S.D. = 0.47, 0.58, 0.50, 0.47, 0.55 และ 10.13 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, 4.33, 4.35, 4.53, 4.39 และ 106.73, S.D. = 0.29, 0.36, 0.36, 0.40, 0.35 และ 6.20 ตามลำดับ) สำหรับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า ก่อนการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.56, 3.42, 3.46, และ 82.75, S.D. = 0.36, 0.46, 0.46, และ 8.92 ตามลำดับ) ส่วนด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.36, 3.64, S.D. = 0.47, 0.49 ตามลำดับ) หลังการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน ผลการเรียนรู้รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และโดยรวม (x ̅ = 4.25, 4.26, และ 100.53, S.D. = 0.36, 0.40 และ 8.21 ตามลำดับ) ผลการเรียนรู้รายด้านอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (x ̅ = 4.11, 4.12, และ 4.17, S.D. = 0.41, 0.40 และ 0.39 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้าน พบว่าผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 2 รายวิชาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านในรายวิชาศักยภาพการนำและการบริหารจัดการทางคลินิก พบว่า นักศึกษาหลังการใช้ห้องเรียนกลับด้านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ห้องเรียนกลับด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่า การใช้ห้องเรียนกลับด้านช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ดีขึ้น ดังนั้น การใช้ห้องเรียนกลับด้านสามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดีและเหมาะสม
Description
Citation
View online resources
Collections