การประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปี

dc.contributor.authorเอื้ออารี จันทร
dc.contributor.authorทิพสุดา คิดเลิศ
dc.contributor.authorพัฒนชัย จันทร
dc.date.accessioned2025-04-01T04:20:28Z
dc.date.available2025-04-01T04:20:28Z
dc.date.issued2022
dc.description.abstractหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปีของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหลักสูตรระบุจุดเน้นที่สำคัญ คือ การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยรุ่นใหม่รองรับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มระบบ แต่ด้วยสถานการณ์โลกที่มีการพลิกผันตลอดเวลา ทำให้คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการจัดทำงานวิจัยฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในหลักสูตรและศึกษา ความต้องการเพิ่มเติมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร 2 มิติ คือ มิติด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและมิติของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การคำนวณหาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI) โดย การเก็บข้อมูลจากผู้เรียน จำนวน 120 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรจำนวน 31 คน ทั้งในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปางและนครนายก โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ในกรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษาลำปาง และนครนายก แต่ละพื้นที่ ๆ ละ 5 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบโควต้า ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ทุกด้านมีผลค่าเฉลี่ยประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก (𝑥 = 3.67 - 4.10) ผลการประเมินทั้ง (1) ด้านปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเรียนรู้ และ (2) ด้านการเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มเกิดความพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ iPad เป็นเครื่องมือในการเรียนและการทำงานเนื่องจากสามารถ ทำงานได้หลากหลายรูปแบบ (3) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ พบว่า เมื่อผ่านไป 1 ปี กลุ่มผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามความคาดหวังของหลักสูตรในประเด็นการสร้างสื่อประกอบการเรียนรู้มากที่สุด (4) ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร มีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน สำหรับความต้องการจำเป็นที่มากที่สุด คือ ความสามารถเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ค่า PNImodified คือ .18 รองลงมา คือ ความสามารถในการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ และความสามารถในการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ค่า PNImodified คือ .14 โดยมีข้อเสนอแนวทางพัฒนา หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นการลงมือปฏิบัติโดยเสริมความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ด้านสุขภาวะของเด็กในโลกดิจิทัล การให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อดูแลเด็ก ในยุคดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ และทักษะการคิดเชิงคำนวณ เสนอให้จัดหาหรือพัฒนาแหล่งเรียนรู้ online หรือชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ ด้านใช้การบูรณาการ รายวิชาบูรณาการชิ้นงานในภาคเรียนเพื่อลดภาระงานของผู้เรียน แต่เน้นการใช้แนวคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านการทำโครงการ (project-based learning) ใช้การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริงในโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5835
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectบูรณาการเทคโนโลยี
dc.subjectครูปฐมวัย
dc.titleการประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2562 หลักสูตรสี่ปี
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3715
Files
Collections