รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี

Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี
Recommended by
Abstract
งานวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประเด็น คือ (1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนามาตรการด้านกฎหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี (3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการตลาด การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี (4) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี และ (5) เพื่อจัดทำรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ต้องประกอบด้วย 5 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ต้องประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) ผู้ประกอบการควรมีการดำเนินการจัดการการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง (2) ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรควรได้รับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าโดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน และ (3) เกษตรกรควรได้รับการยกระดับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) 2. แนวทางการพัฒนามาตรการด้านกฎหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษต ในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ควรมีการพัฒนามาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับท้องถิ่น หรือแยกเป็นกฎหมายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวมากขึ้น รวมถึงควรมีเกณฑ์การประเมินและการรับรอง คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร มีความไว้วางใจและเชื่อมั่นในการท่องเที่ยวในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี 3. รูปแบบการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ควรมีรูปแบบการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตร ที่มีส่วนประกอบของส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ทั้ง 7 ด้าน คือ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) เน้นในด้านกิจกรรมและตัวสินค้าที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน (2) ด้านราคา (Price) กำหนดราคาแบบเป็นแพ็กเกจที่ดูคุ้มค่าและรู้ล่วงหน้าว่าจะได้รับอะไร โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ (3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ที่เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด คือ ช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือสื่อสังคมออนไลน์ (Online) (4) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ควรประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดการการท่องเที่ยวในฤดูกาลต่าง ๆ ที่แตกต่างกันผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย (5) ด้านกระบวนการ (Process) มีการวางระบบการให้บริการ โดยชุมชนใช้บุคลากรแค่คนเดียวทำหน้าที่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีหัวหน้ากลุ่มเป็นวิทยากรบรรยาย นำเสนอ เรื่องราวของชุมชน (6) ด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Presence) ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตามพี้นที่มีผลผลิตที่แตกต่างจากที่อื่น และ (7) ด้านบุคลากร (People) ให้บริการด้วยความเป็นมิตร จริงใจ และเต็มใจให้บริการ เป็นนักสื่อความหมายที่เก่ง 4. กระบวนการยกระดับคุณภาพการบริการของแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) การปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่สัมผัสได้ในการบริการ ได้แก่ ความทันสมัยและความพร้อมของอุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้องกับบริการความประณีตของวิทยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีเสน่ห์ของแหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร (2) การพัฒนานักสื่อความหมายหรือวิทยากรในแหล่งเรียนรู้ ทำการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดข้อมูลชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นผู้ขับเคลื่อนการต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรในด้านต่าง ๆ ภายในชุมชน และ (3) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) เรื่องการติดตามผลการให้บริการ การจัดการข้อร้องเรียน นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการบริการ 5. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ต้องจัดทำโดยประกอบด้วยเนื้อหาใน 2 ประเด็น คือ (1) แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้ประกอบการต้องใช้ทรัพยากรที่มีค่าของท้องถิ่นในการสร้างรูปแบบการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร ด้วยการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวให้ชัดเจน เน้นอัตลักษณ์แหล่งเรียนรู้เฉพาะแหล่งแบบมีส่วนร่วมมีแนวทางการเสริมสร้างความรู้ในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เน้นความสำคัญของสุขภาพ มีรูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับ PDG และ (2) การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านต่าง ๆ 6 ด้าน คือ (1) ด้านการทำการตลาด ที่เน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีเรื่องราว มีกิจกรรมที่น่าสนใจ (2) ด้านการสร้างคุณภาพสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรอินทรีย์ที่ตรงตามความต้องการในตลาดปัจจุบัน (3) ด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารของกลุ่มเกษตรกร เช่น การเป็นมัคคุเทศก์ วิทยากรบรรยายที่มีประสิทธิภาพ สามารถตอบคำถามของนักท่องเที่ยวได้ (4) ด้านการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ให้มีการท่องเที่ยวชุมชนอย่างครบถ้วน (5) ด้านการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเกษตรให้ยั่งยืน โดยอิงกับแผนเกษตรยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศการเกษตรแบบครบวงจร และ (6) ด้านการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีการพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร