การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย

Default Image
Date
2023
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
Recommended by
Abstract
การพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment: MCI) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกมบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) เพื่อหาประสิทธิผลของเกมบริหารสมองต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ใช้เกมบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ระยะเวลาของโปรแกรม 12 สัปดาห์ วัดผลก่อนทดลองในสัปดาห์แรก และวัดผลหลังเสร็จสิ้นการทดลอง และในระยะติดตามในสัปดาห์ที่ 12 ประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย จากการประเมินด้วยแบบประเมินพุทธิทางปัญญา (MoCA-T) โดยมีค่าคะแนนน้อยกว่า 25 คะแนน และการประเมินด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น (MMSEThai 2002) จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment ( MoCA) ฉบับภาษาไทย (MoCA-T) แบบประเมินคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) ผลจากการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60) มีอายุเฉลี่ย 68.26 ปี (SD. = 4.85) สถานภาพคู่ (ร้อยละ 93.3) สำเร็จการศึกษาในระดับปฐมศึกษา (ร้อยละ 93.3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสามารถในการรู้คิดของสมองก่อน และหลังการทดลองใช้นวัตกรรม และระยะติดตาม ด้วยแบบประเมิน MoCA-Thai 8 ด้าน พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรู้คิดของสมองก่อน และหลังการทดลองใช้นวัตกรรม และระยะติดตาม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณภาพชีวิตก่อนการทดลองใช้นวัตกรรม เกมบริหารสมอง และระยะติดตาม พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อน และหลังการเสร็จสิ้นการทดลองใช้นวัตกรรมเกม ในระยะติดตาม คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมเกมบริหารสมอง มีระดับความพึงพอใจระดับมากสุด โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจมากสุด (Mean = 5.00, SD. = .000)
Description
Citation
View online resources
Collections