ต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัยในเขตพื้นที่ภาคกลาง
dc.contributor.author | สุรชาติ สินวรณ์ | |
dc.contributor.author | ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ | |
dc.contributor.author | ยุธยา อยู่เย็น | |
dc.contributor.author | ทิพาวรรณ วรรณขัณฑ | |
dc.date.accessioned | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.available | 2025-04-01T04:20:28Z | |
dc.date.issued | 2022 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัย ได้แก่ นวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนแล้ง นวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ PGPR และสารปรับปรุงดินจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน นำไปใช้ร่วมกับระบบน้ำหยด เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและเมล่อน นวัตกรรมการจัดการปริมาณและคุณภาพน้ำในโรงเรือนปลูกมะเขือเทศ โดยใช้คลื่นแสงเสริม และ 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและการใช้ต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัย โดยจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาซึ่ง มีอาชีพเกษตร จำนวน 262 คน ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2564-10 กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้แบบประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบ นวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัยหลังการอบรม และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมจำนวนทั้งสิ้น 262 คนเป็นชาย จำนวน 174 คน (66.41%) และเป็นหญิง จำนวน 189 คน (72.14%) มีระยะเวลาในการทำการเกษตรในช่วง 16-20 ปี มีจำนวน 134 คน (51.15%) ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 213 คน (81.30%) มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 83 คน (31.68%) มีรูปแบบการใช้ปุ๋ยชีวภาพ โดยการซื้อใช้สูงสุดเท่ากับ 117 คน (44.66%) ในส่วนของคะแนนในการทำแบบทดสอบความรู้ของผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการต้นแบบ นวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะแล้งตามแนวทางเกษตรกรปลอดภัยในเขตภาคกลาง จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถทำได้ 10 คะแนน จำนวน 138 คน (52.67%) ส่วนการประเมินความรู้ความเข้าใจเล่มคู่มือในส่วนระดับมาก โดยมีเนื้อหามีความสอดคล้องและตรงประเด็น จำนวน 180 คน (68.70%) ขนาดอักษรมีความเหมาะสม จำนวน 202 คน (77.10%) การศึกษานำไปสู่การพัฒนาทักษะและวิธีการ จำนวน 260 คน (99.24%) ได้รับความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้นจากการอ่านเล่มคู่มืออบรม จำนวน 190 คน (72.52%) และการศึกษาเล่มคู่มือ ท่านมีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ จำนวน 183 คน (69.85%) ผลประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อการสาธิตวิธีการ สูงสุดในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ โดยผลการประเมินคะแนนระดับ 5 (มากที่สุด) ในประเด็น การสาธิต ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความเข้าใจสามารถนำขั้นตอนไปปรับใช้ได้ จำนวน 117 คน (44.66%) อุปกรณ์และเอกสารประกอบการสาธิต มีความเหมาะสมและเพียงพอ จำนวน 211 คน (80.53% ขั้นตอนการสาธิต ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ จำนวน 243 คน (92.75%) ผู้จัดอบรมใช้ภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายระหว่างการสาธิต จำนวน 139 คน (53.05%) การดำเนินงานได้ใช้พื้นที่ประสาน ณ ฟอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยมีสถานที่ทั้งแบบสาธิตการปลูกพืช การผลิตปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน การวิเคราะห์ปุ๋ย สารเคมีและสารกำจัดจัดศัตรูพืช การวิเคราะห์เพื่อรับรอง GAP การให้คำปรึกษาทางการตลาดให้แก่เกษตร และการวิจัยและการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5827 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | พืชเขตร้อน | |
dc.subject | พืชผลกับภูมิอากาศ -- เขตร้อน | |
dc.subject | ภัยแล้ง | |
dc.subject | เกษตรกรรม | |
dc.title | ต้นแบบนวัตกรรมการผลิตพืชในพื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งตามแนวทางเกษตรปลอดภัยในเขตพื้นที่ภาคกลาง | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3515 |