การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค
dc.contributor.author | กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง | |
dc.contributor.author | ธนพรรณ เพชรเศษ | |
dc.contributor.author | เกษร ขวัญมา | |
dc.date.accessioned | 2025-05-29T13:37:31Z | |
dc.date.available | 2025-05-29T13:37:31Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) สำหรับเด็กปฐมวัย 2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 3. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function = EF) ของเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค และการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายหญิง จำนวน 600 คน ซึ่งมีอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 300 คน และกลุ่มควบคุม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค เพื่อพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย แบบประเมินการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบบันทึกพฤติกรรมการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 9 ด้าน คือ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ได้แก่ 1) ความจำที่นำมาใช้ (Working memory) 2) การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ความสามารถในการยืดหยุ่นความคิด (Cognitive Flexibility) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ได้แก่ 4) ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ (Focus Attention) 5) การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) 6) การประเมินตนเอง (Self - Monitoring) กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มทักษะปฏิบัติ ได้แก่ 7) ความสามารถในการริเริ่ม (Initiating) 8) การวางแผนและการจัดระบบ (Planning and Organizing) 9) การมุ่งเข้าสู่เป้าหมาย (Gold - Directed Persistence) โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค สามารถพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีคะแนนหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยของทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) โดยผ่านการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6894 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | ปฐมวัย -- สมอง -- การพัฒนา | |
dc.subject | สะเต็มศึกษา | |
dc.subject | ขนมไทย -- กิจกรรมการเรียนการสอน | |
dc.title | การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2619 |