พฤติกรรมการบริโภคก๋วยเตี๋ยวแกงไทยของชาวญี่ปุ่น
Loading...
Date
2021-12-04
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม - มิถุนายน 2563
Journal Title
พฤติกรรมการบริโภคก๋วยเตี๋ยวแกงไทยของชาวญี่ปุ่น
Authors
Recommended by
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคก๋วยเตี๋ยวแกงไทยของชาวญี่ปุ่น เก็บข้อมูลจาก ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้ (1) พฤติกรรมด้านการบริโภค โดยข้อมูลทางประชากรศาสตร์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงอายุ 31-40 ปี เป็นพนักงานเอกชน และ พำนักในกรุงโตเกียว รู้จักกับก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ในลักษณะ ก๋วยเตี๋ยวลวกมากที่สุด และมีความรู้เกี่ยวกับกะทิ และ แกงไทย (2) ข้อมูลการยอมรับต่อเส้นก๋วยเตี๋ยวไทย ขั้นแรกให้ผู้ทดสอบพิจารณาก๋วยเตี๋ยวแห้งที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย 2 ชนิดด้วยสเกลเส้นพบว่า ผู้ทดสอบให้คะแนนการ ยอมรับก๋วยเตี๋ยวที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มีสีที่สวยงามดึงดูดความสนใจ เส้นก๋วยเตี๋ยวมีความยาว เหมาะสมต่อการประกอบอาหาร รวมถึงมีฉลากโภชนาการ และ แสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน จากข้อมูลทางประสาทสัมผัส โดยสรุปการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวให้เป็นที่ยอมรับของชาวญี่ปุ่น ควรผลิตให้มี สี ความใส ความพองตัว ความเหนียว และความนุ่ม ใกล้เคียงกับเส้นเล็ก ข้อมูลการยอมรับก๋วยเตี๋ยวแกงไทย โดยศึกษาชนิดของเส้น และแกงไทยอย่างละ 3 ชนิด ออกแบบการทดลองแบบ 3x3 แฟคทอเรียลพบว่า ปัจจัยเรื่องชนิดของแกงทำให้คุณลักษณะด้านสี ลักษณะปรากฏ กลิ่น ความข้น รสเค็ม ความเผ็ด รสชาติตกค้างในปาก และ ความชอบโดยรวม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยแกงเขียวหวานและ แกงเผ็ดได้รับคะแนน มากกว่า แกงกะหรี่ และ (3) ข้อมูลด้านทัศนคติของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นต่อก๋วยเตี๋ยวแกงไทย พบว่า ร้อยละ 90 อยากบริโภค โดยเหตุผลที่สำคัญคือ รสชาติโดยรวม และรสชาติแกง และอยากให้มีจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะ วัตถุดิบพร้อมปรุงกึ่งสำเร็จรูปเพื่อให้สามารถปรุงเองที่บ้านได้