ผลการใช้การเรียนแบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐาน (case -based learning) ต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Default Image
Date
2023
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ผลการใช้การเรียนแบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐาน (case -based learning) ต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Recommended by
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เรื่องผลการใช้การเรียนแบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐานต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หลังใช้การเรียนรู้แบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐาน (case -based learning) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานทั่วไป กรณีศึกษา (case -based learning) แบบประเมินความรู้และแบบประเมินทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเชิงบวกและเชิงลบ ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (reliability) อยู่ที่ 0.7 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เพศชาย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3 เพศหญิง จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 96.7 มีอายุ 19 ปี จำนวน 70 คน อายุ 20 ปีจำนวน 67 คน อายุ 21 ปี จำนวน 6 คน และอายุ 22 ปี จำนวน 8 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 46.4, 44.4, 4, 5.3 ตามลำดับ เปรียบเทียบผลการเรียนรู้และทัศนคติก่อนและหลังใช้การเรียนรู้แบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐาน พบว่าความรู้หลังและก่อนการเรียนรู้แบบ STEM Education เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) และทัศนคติเกี่ยวกับผู้สูงอายุหลังและก่อนใช้การเรียนรู้แบบ STEM Education ผ่านกรณีศึกษาเป็นฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) ข้อเสนอแนะ การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้สามารถนำความรู้และทัศนคติทีดีต่อผู้สูงอายุ มองเห็นคุณค่าความสำคัญในความเป็นผู้สูงอายุ ส่งผลให้นักศึกษาพยาบาลสามารถเชื่อมโยงความรู้และทัศนคติที่ดีสู่การทำงานร่วมกันในสังคมของผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนการนำผลการวิจัยไปออกแบบกิจกรรมในการเสริมสร้างทัศนคติต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานได้
Description
Citation
View online resources
Collections