รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Recommended by
Abstract
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้เขต เศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อค้นหาและวิเคราะห์องค์ความรู้สำหรับการพัฒนารูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก คณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การเยี่ยมชมสถานประกอบการ และพัฒนาข้อสรุปโดยทฤษฎีจากฐานราก (Grounded Theory) มาจัดทำรายงานสรุปเบื้องต้น (Preliminary Research Report) แล้วนำมายืนยันกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) อีกครั้งพร้อมกันนั้นได้แจกแบบสอบถามไปยังสถานประกอบการ จำนวน 400 ชุด มีแบบสอบถามกลับคืนมา 360 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.00 เป็นธุรกิจด้านการค้าธุรกิจด้านการบริการ และธุรกิจด้านการผลิตร้อยละ 50.83 30.28 และ 18.89 ตามลำดับ เมื่อได้ประมวลวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเสร็จ จึงนำมาสู่ขั้นตอนสุดท้ายการนำเสนอผลการศึกษาสู่การนำไปปฏิบัติ (Value Implication) โดยการรับฟังและขอข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประกอบการและผู้บริหารที่รับผิดชอบองค์กรในพื้นที่ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันธุรกิจ ครอบครัว และระยะที่ 3 การหาแนวทางนำรูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันธุรกิจ ครอบครัวไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. การค้นหาและวิเคราะห์องค์ความรู้สำหรับการพัฒนารูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีองค์ประกอบดังนี้ 1.1 ยุทธศาสตร์การค้าแม่สอด: ภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิยุทธศาสตร์-ภูมิเศรษฐศาสตร์ ยุทธศาสตร์การรุกของนักธุรกิจแม่สอด ในการสร้าง “พื้นที่ทางเศรษฐกิจ” ซึ่งหมายถึง การยกระดับแม่สอด (Mae Sot Upscale -Transformation) ไปสู่การเป็น “พื้นที่ทางเศรษฐกิจ” ด้วยการสร้างแบรนด์แม่สอด (Mae Sot Branding) ให้เห็นว่าแม่สอดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีอนาคตอันสดใส หากไม่ทำจะไม่สามารถขายสินค้าในเมียนมาได้เหมือนในอดีตแม่สอด ต้องการยกระดับ (Upscale) ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน ข่าวการเติบโตทางการค้าของแม่สอดความสำคัญของเส้นทางโลจิสติกส์จากดานังสู่เมาะลำไย (มะละแหม่ง) ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor) ซึ่งจะช่วยดึงการลงทุนและธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามาสู่แม่สอด โดยการมีหอการค้าจังหวัดตาก ได้วางยุทธศาสตร์ของหอการค้าฯ การให้ข้อมูลข่าวสารของการเติบโตทางการค้า และผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษ จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศในปี พ.ศ. 2557 ให้จังหวัดตาก ประกอบด้วย อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาดและอำเภอพบพระ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (TAK Special Economic Zone :TAK SEZ ) 1.2 การศึกษารูปแบบการค้าในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (TAK SEZ) การค้าชายแดนเป็นรูปแบบการค้าที่นักธุรกิจ ประชาชน ประกอบกิจการการค้าชายแดนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน มีทั้งค้าปลีก (มีร้าน เช่าร้าน หรือ แผงลอย ฯลฯ) และค้าส่ง (สินค้าทั่วไป และ สินค้าเฉพาะอย่าง) ซึ่งบางรายอาจมีร้านค้าทั้ง 2 ประเทศ (เมียวดี-แม่สอด) ส่วนการค้าข้ามแดน จะเป็นการนำสินค้าข้ามแดน จากบริษัทหนึ่งไปยังบริษัทหนึ่ง เมื่อข้ามแดนไปแล้วสินค้าดังกล่าวจะถูกกระจายไปยังที่ต่างๆ ในประเทศที่อยู่ติดต่อกันหรือไปยังประเทศปลายทาง (เมียนมา อินเดีย บังคาลาเทศ ปากีสถาน และ จีน) มีทั้งการค้าที่ผ่านระเบียบพิธีการศุลกากร การค้าข้ามแดนที่ไม่ผ่านระเบียบพิธีศุลกากรเป็นการเลี่ยงหรือลักลอบนำเข้าแต่เดิมทางประเทศเมียนมายังมีความความไม่สงบ และระบบการซื้อขายที่ต้องผ่านชนกลุ่มน้อย จึงเป็นการค้าที่อาศัยความสัมพันธ์ และผ่านตลาดมืด ไม่มีพนักงานขายที่จะไปนำเสนอการขายสินค้า ต่อเมื่อพัฒนามากขึ้น เป็นการค้าเสรีและ ผ่านพิธีการศุลกากร บริษัททั้งส่วนกลางและในพื้นที่อำเภอแม่สอด ได้พัฒนาการค้า (การค้า 4.0) หลายรูปแบบมากขึ้น เช่น การเป็นฐานการผลิต (OEM) อุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า ธุรกิจมีพนักงานขายไปนำเสนอสินค้าในเมียนมาทั้งร้านค้าปลีกและค้าส่ง การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น Viber และ Facebook ในการติดต่อการค้าสั่งสินค้า โดยตรงมายังร้านค้า ธุรกิจ ในแม่สอด หรือ โรงงานผู้ผลิตในประเทศไทย และการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ในระยะแรก น่าจะเป็นการค้า (Trading) มากกว่าที่จะเป็นการลงทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตทั้งแรงงานและที่ดิน (นิคมอุตสาหกรรมยังอยู่ในระหว่างเริ่มดำเนินการ) ไม่ได้เป็นความได้เปรียบและมีค่าแรงราคาเท่ากับกับพื้นที่อื่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่ได้ประโยชน์มากกว่าก่อนการเป็น SEZ ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรายใหญ่จากส่วนกลาง หรือพื้นที่อื่นเข้าไปลงทุนทางการค้าในประเทศเมียนมาโดยตรง 1.3 รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มของธุรกิจครอบครัว การสังเคราะห์องค์ความรู้โดยการใช้ทฤษฎีจากฐานราก พบว่า รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่ม ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การยกระดับ (Up-scaling) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 2) การปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Transformation) การปรับเปลี่ยนธุรกิจจากวัฏจักรธุรกิจไปอีกวัฏจักรธุรกิจด้วย (1) การดำเนินกิจการให้ครบวงจร การนำเทคโนโลยีสมัยเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ และ (2) การปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบคู่ขนาน หรือแบบคู่ (Dual Transformation) และ 3) นวัตกรรมปรับใหม่ หรือฝ่าทะลวงรูปแบบเดิม/นวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Change) 1. การพัฒนารูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัว ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.1 มิติของรูปแบบธุรกิจครอบครัว (4 Dimensions of Family Business - FOBE) สำหรับการยกระดับมูลค่าเพิ่มจากการวิจัยจากทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) ด้วย รูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามแบบ FOBE คณะผู้วิจัยได้สังเคราะห์ออกมาเป็น 4 มิติของรูปแบบธุรกิจครอบครัวสำหรับการยกระดับมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย มิติด้านครอบครัว (Family Dimension) มิติด้านความเป็นเจ้าของ (Ownership Dimension) มิติด้านธุรกิจ (Business Dimension) มิติด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Dimension) 1.2 การยกระดับมูลค่าเพิ่มธุรกิจด้วยโมเดลธุรกิจ (Business Model) ประกอบด้วย การสังเคราะห์องค์ความรู้โดยการใช้ทฤษฎีจากฐานราก พบว่า รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่ม ใน 3 ลักษณะดังนี้ 1) การยกระดับ (Up-scaling) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 2) การปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Transformation) การปรับเปลี่ยนธุรกิจจากวัฏจักรธุรกิจ ไปอีกวัฏจักรธุรกิจด้วย (1) การดำเนินกิจการให้ครบวงจร การนำเทคโนโลยีสมัยเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ และ (2) การปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบคู่ขนาน หรือแบบคู่ (Dual Transformation) และ 3) นวัตกรรมปรับใหม่ หรือ ฝ่าทะลวงรูปแบบเดิม/นวัตกรรมฝ่าทะลวง (Disruptive Change) 1.2.1 ทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นต่อการยกระดับมูลค่าเพิ่มธุรกิจ ในเรื่อง ทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบการ พบว่า การกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจของสถาน ประกอบการภาพรวมมีความสำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นว่า การ จัดทำกลยุทธ์ธุรกิจหรือการดำเนินธุรกิจนั้น “โมเดลธุรกิจ” มีความสำคัญต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจ อยู่ในระดับมาก การวางแผนธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นว่าอันดับแรกการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และที่มีความสำคัญรองลงมาคือ การวิเคราะห์คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์สภาพตลาดและลูกค้าอยู่ในระดับมาก การให้ผู้รับผิดชอบระดับฝ่ายงานร่วมกันกำหนดแผนกลยุทธ์ระดับฝ่ายงานทุกฝ่ายงานอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์สภาพภายในองค์กร/บริษัทของท่านอยู่ในระดับมาก การร่วมมือในระหว่างผู้บริหารกำหนดแผนกลยุทธระดับธุรกิจอยู่ในระดับมาก การจัดทำหรือทบทวนเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) เป้าหมายธุรกิจ (Goal) ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการอยู่ในระดับมาก และการให้ผู้ปฏิบัติร่วมกับผู้บังคับบัญชาจัดทำแผนปฏิบัติการในงานที่รับผิดชอบอยู่ในระดับปานกลาง เป็นลำดับสุดท้าย 1.2.2 รูปแบบโมเดลธุรกิจสำหรับธุรกิจครอบครัว (Business Model for Family Business) ก. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของสถานประกอบการต่อรูปแบบโมเดลธุรกิจสำหรับธุรกิจครอบครัวใน 4 ด้าน มีผลดังนี้ 1) ด้านคุณค่าที่นำเสนอ (Value Proposition) 2) ด้านลูกค้า (Customer) 3) ด้านปฏิบัติการ (Operation) และ4) ด้านการเงิน (Financial) ข. การสังเคราะห์โมเดลธุรกิจสำหรับธุรกิจครอบครัว คณะผู้วิจัยได้ สังเคราะห์โมเดลธุรกิจสำหรับธุรกิจครอบครัว (Business Model for FOBE Dimension) โดยถ้าพิจารณาตาม 4 มิติของธุรกิจครอบครัว (4 Dimensions of Family Business: FOBE Dimension) พบว่า ด้านครอบครัว (F) จะอยู่ในส่วนของด้านปฏิบัติการ ด้านความเป็นเจ้าของธุรกิจ (O) จะอยู่ในส่วนการลงทุนหรือโครงสร้างต้นทุน ด้านการดำเนินธุรกิจ (B) จะอยู่ในส่วนด้านลูกค้า และด้านความเป็นผู้ประกอบการ (E) จะอยู่ในส่วนสายธารรายได้หรือรางวัลที่ได้จากมูลค่าการลงทุน 1.2.3 การสืบทอดธุรกิจ (Succession) ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณตามโมเดลธุรกิจครอบครัว (FOBE Model) สำหรับการสืบทอดธุรกิจสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 กำรเริ่มเข้ำมำทำธุรกิจ (Do) การทำธุรกิจในช่วงนี้ จะเป็นการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่ม Startup ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบการใหม่บางธุรกิจยังไม่มีทายาทในส่วนความเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น มีการลองผิดลองถูกในการเลือกและทำธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดและขยายธุรกิจ ระยะที่ 2 การชี้นำให้ทำธุรกิจ (Lead to Do) นี้ ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นบุกเบิกในการก่อตั้ง หรือเริ่มธุรกิจในอำเภอแม่สอดมาอย่างยาวนานในยุคตลาดมืดจนถึงปัจจุบัน มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ และมีการเตรียมทายาทเพื่อให้เข้ามาเรียนรู้การดำเนินธุรกิจของครอบครัว ซึ่งทายาทจะได้รับการดูแล และเตรียมพร้อมทั้งเรื่องพื้นฐานการศึกษาที่ตรงหรือสอดคล้องกับธุรกิจที่ครอบครัวกำลังดำเนินการอยู่ และระยะที่ 3 การให้จัดกำรธุรกิจ (Let Do) ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนใหญ่จะปล่อยและวางมือ เพื่อให้ทายาทเข้ามาบริหารธุรกิจอย่างเต็มตัว ซึ่งทายาทได้รับการฝึกฝน เรียนรู้การดำเนินงานร่วมกัน มาตั้งแต่สมัยยังไม่จบการศึกษาบางธุรกิจมีการวางตัวหรือเตรียมการให้ทายาทแต่ละคนรับผิดชอบ ดำเนินแต่ละธุรกิจในเครือฯ แบบกลุ่มบริษัท และให้รับผิดชอบขยายธุรกิจกับทายาทธุรกิจที่เป็นสายสัมพันธ์เดิมในประเทศมียนมา ดังนั้นคณะผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นการสืบทอดธุรกิจตามโมเดลธุรกิจครอบครัว (FOBE Model) สำหรับการยกระดับมูลค่าเพิ่มใน 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การเริ่มเข้ามาทำธุรกิจ (Do) ระยะที่ 2 การชี้นำให้ทำธุรกิจ (Lead to Do) ระยะที่ 3 การให้จัดการธุรกิจ (Let Do)