การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูประจำศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูประจำศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน. 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน. และ 3) ศึกษาความคงทนของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน. กลุ่มที่ศึกษา คือ ครู กศน. เขตสาทร และเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน แบบทดสอบความรู้การใช้เทคโนโลยี สร้างสื่อการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถการใช้เทคโนโลยีสร้างสื่อการเรียนรู้ และแบบวัด เจตคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนกับหลังการใช้ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (𝑑) และคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน. มี 3 ส่วน ดังนี้ 1) สิ่งนำเข้า ประกอบด้วย ผู้สอน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้ 2) กระบวนการ ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน มี 5 ขั้น คือ ขั้นสร้าง ประสบการณ์ ขั้นแบ่งปัน ขั้นกระบวนการ ขั้นสรุป ขั้นประยุกต์ 3) ผลลัพธ์ คือ สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู กศน. ประกอบด้วย สมรรถนะภายนอก คือ ความรู้กับทักษะ และสมรรถนะภายใน คือ เจตคติ 2. ครู กศน. ทุกคนมีสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ เพิ่มขึ้นทุกคน โดยสมรรถนะภายนอก พบว่า ครู กศน. มีสมรรถนะ ภายนอก หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 78.58, S.D. = 8.64) สูงกว่าก่อนการใช้ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 68.67, S.D. = 10.29) โดยมีคะแนนความแตกต่างระหว่าง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงขึ้น (𝑑 = 9.91) เมื่อพิจารณาคะแนนพัฒนาการ สมรรถนะภายนอกของครู กศน. หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ พบว่า ครู กศน. ส่วนใหญ่มีคะแนนพัฒนาการระดับกลาง (ร้อยละ 26-50) จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 คะแนนพัฒนาการระดับต้น (ร้อยละ 0-25) จ านวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และคะแนนพัฒนาการระดับสูง (ร้อยละ 51-75) จ านวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะภายใน พบว่า ครู กศน. มีเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 4.29, S.D. = 0.56) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 3.88, S.D. = 0.86) โดยมีคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงขึ้น (𝑑 = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า ครู กศน. ทุกคนมีเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 100 3. ครู กศน. ทุกคนมีความคงทนของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นทุกคน โดยสมรรถนะภายนอก พบว่า ครู กศน. มีสมรรถนะภายนอก หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3 สัปดาห์ (Mean = 84.00, S.D. = 7.89) สูงกว่าหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 78.58, S.D. = 8.64) โดยมีคะแนนความแตกต่างสูงขึ้น (𝑑 = 5.42) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่า ครู กศน. มีสมรรถนะภายนอกอยู่ในระดับดีพอใช้ (67 - 72 คะแนน) ขึ้นไป ส่วนสมรรถนะภายใน พบว่า ครู กศน. มีเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้ หลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3 สัปดาห์ (Mean = 4.72, S.D. = 0.45) สูงกว่าหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ (Mean = 4.29, S.D. = 0.56) โดยมีคะแนนความแตกต่างสูงขึ้น (𝑑 = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า ครู กศน. ทุกคนมีเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพิ่มขึ้นระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00