นวัตกรรมการดูแลและพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Default Image
Date
2023
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
นวัตกรรมการดูแลและพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมดูแลภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 149 คน และผู้ดูแลจำนวน 60 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพและ ผู้ดูแล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสํารวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน 2) แบบสอบถามคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 3) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล 4) แบบทดสอบความเว้เหว่ UCLA 5) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ 6) แบบประเมินความบกพร่องทางการรู้คิด 7) แบบสอบถาม ความพร้อมในการดูแล และ 8) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Multiple regression และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนาความสามารถของผู้ดูแลและ นวัตกรรมป้องกันและฟื้นฟูศักยภาพสมองด้านการรู้คิดในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสาธารณสุขประจำ รพ.สต. อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ผู้ดูแล และผู้สูงอายุ จำนวนทั้งหมด 100 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุและผู้ดูแล แบบสอบถามความสามารถในกิจวัตรขั้นพื้นฐาน แบบประเมินความรู้ภาวะสมองเสื่อมและการดูแล แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร สถิติที่ใช้ Pair t-test ระยะที่ 3 นำแบบแผนการดูแลและนวัตกรมมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุไปใช้ 1) แอพพลิเคชั่นการป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น แบบประเมินความพึงพอใจ 2) Card Game ส่งเสริมความจำในผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ MoCA (Montreal Cognitive Assessment ) การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ Dependent sample t-test (Paired t-test), Repeated Measurement Analysis of Variance (ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ ระยะที่ 1 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง ส่วนใหญ่มีภาวะพร่องการรู้คิดจากการรับรู้ตนเอง (subjective cognitive decline) ถึง ร้อยละ 77.89 ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลในชุมชนได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพจากบุคลากรสาธารณสุขตามเกณฑ์มาตรฐานการดูแลระยะยาว (Long Term Care) ที่ดีแต่ยังขาดประเด็นสำคัญด้านการดูแลภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ จากความพร้อมของผู้ดูแล (mean=65.16,SD.= 0.48) อยู่ในระดับต่ำ ในการดูแลผู้สูงอายุและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ขาดอุปกรณ์ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม นำไปสู่ ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น 24 ชั่วโมงเพื่อส่งเสริมความสามารถผู้ดูแล ในการจัดการดูแลภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการดูแลภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พัฒนา แอพพลิเคชั่น SDU Brain Training สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง และ Card Game สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ระยะที่ 3 ผล การประเมินประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่น “SDU Brain Training” สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงพบว่า ภาพรวมแอพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (M = 90.24, SD = 4.73) โดย ความถูกต้องของระบบ มีคะแนนสูงสุด (M = 29.72, SD = 1.04) ส่วนการประเมินประสิทธิภาพของ Card Game ผู้สูงอายุที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 5 , SD = 0.00) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองซึ่งมี Card Game เป็นองค์ประกอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถภาพสมอง ก่อนการทดลอง- หลังการทดลองและระยะติดตามผล ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นวัตกรรมการดูแลและพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประชากรวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมในอนาคตได้
Description
Citation
View online resources
Collections