การศึกษาผลของสารอาหารเสริมต่อกลุ่มประชากรจุลินทรีย์ในถัง UASB

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาผลของสารอาหารเสริมต่อกลุ่มประชากรจุลินทรีย์ในถัง UASB
Recommended by
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเติมสารอาหารเสริมและไคโตซานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในถังปฏิกรณ์ UASB ทำการศึกษาโดยใช้ถังปฏิกรณ์ UASB จำนวนทั้งหมด 3 ถัง ถังปฏิกรณ์ที่ 1 เดินระบบด้วยน้ำเสียโดยไม่เติมสารอาหารเสริมใด ๆ ถังปฏิกรณ์ที่ 2 เดินระบบด้วยน้ำเสียโดยเติมสารอาหารหลัก (ประยุกต์สูตร Richard E. Speece, 1996) และเติม Fe, Ni และCo ถังปฏิกรณ์ที่ 3 เดินระบบด้วยน้ำเสียโดยเติมไคโตซาน ถังปฏิกรณ์ UASB ทั้ง 3 ถังได้ทำการเดินระบบเป็นระยะเวลา 60 วัน โดยใช้น้ำทิ้งจากโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังโดยมีค่าซีโอดีอยู่ที่ 42,777 ± 2,525 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราส่วน BOD/COD อยู่ที่ 0.53 อัตราส่วน COD: N: P อยู่ที่ 100:1.69:0.004 ผลการศึกษาสภาวะแวดล้อมและค่าพีเอช ของถังพบว่ามีสภาวะใกล้เคียงกันโดยค่า TVA/Alk อยู่ในช่วง 0.27-0.31 ประสิทธิภาพกำจัดสารอินทรีย์ COD ของถังปฏิกรณ์ที่ 2 ที่มีการเติมอาหารเสริมและถังปฏิกรณ์ที่ 3 ไคโตซานมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งดีกว่าถังปฏิกรณ์ที่ 1 ที่ไม่มีการเติมสารอาหารเสริมและไคโตซาน นอกจากนั้นพบว่าถังที่มีการเติมอาหารเสริมและไคโตซานมีการผลิตก๊าซชีวภาพเฉลี่ยสูงกว่าถังที่ไม่มีการเติมสารอาหาร ถังปฏิกรณ์ UASB 1 และ 2 มีการผลิตก๊าซชีวภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7,804 และ 7,194 มิลลิลิตรต่อวัน จากการเปรียบเทียบประชากรจุลินทรีย์จากตะกอน UASB ด้วยเทคนิค 16S rRNA ด้วยปฏิกิริยา PCR พบว่าถังปฏิกรณ์ที่มีการเติมสารอาหารเสริมและไคโตซานพบกลุ่มจุลินทรีย์จีนัส Methanobacterium เพิ่มขึ้นมากกว่าถังที่ไม่ได้เติมสารอาหารและไคโตซาน