รูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รายวิชา สถิติและการวางแผนการทดลองในการวิจัยด้านอาหาร ในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ

dc.contributor.authorกรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส
dc.contributor.authorสุภาวดี นาคบรรพ์
dc.date.accessioned2025-05-16T05:52:13Z
dc.date.available2025-05-16T05:52:13Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยด้วยการเรียนรู้เชิงรุก และ 2) พัฒนาการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยและเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง โดยศึกษาจากประชากรนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา สถิติและการวางแผนการทดลองในการวิจัยด้านอาหาร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง จำนวน 6 คน โดยให้นักศึกษาเลือกทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกหรือไม่ทำกิจกรรมตามความสมัครใจ โดยมีนักศึกษาทำกิจกรรมจำนวน 5 คน ไม่ทำกิจกรรม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย สื่อวิดีทัศน์ การเชิญผู้มีประสบการณ์มาบรรยาย และกรณีศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินจริยธรรมในกระบวนการวิจัย และแบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้ประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ทำกิจกรรม มีระดับจริยธรรมการวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.22 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ทำกิจกรรม ซึ่งมีระดับจริยธรรมการวิจัยในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 และกลุ่มตัวอย่างนักศึกษากลุ่มที่ทำกิจกรรมปฏิบัติตามทักษะชีวิตและอาชีพที่เหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.65 สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ทำกิจกรรมซึ่งปฏิบัติตามทักษะชีวิตและอาชีพที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับจริยธรรมการวิจัยระหว่างกลุ่มไม่ทำกิจกรรมและกลุ่มทำกิจกรรม พบว่า ระดับจริยธรรมการวิจัยของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผลการการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในภาพรวมระหว่างนักศึกษากลุ่มไม่ทำกิจกรรมและกลุ่มทำกิจกรรม พบว่า ระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในภาพรวมทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับจริยธรรมการวิจัยและระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของกลุ่มที่ทำกิจกรรม พบว่า ระดับจริยธรรมการวิจัยและระดับทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กัน
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6691
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectวิจัย -- จริยธรรม
dc.subjectวิจัย -- แง่ศีลธรรม
dc.titleรูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รายวิชา สถิติและการวางแผนการทดลองในการวิจัยด้านอาหาร ในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3387
Files
Collections