การพัฒนาชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ตสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Default Image
Date
2022
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ตสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
Recommended by
Abstract
ดิจิทัลมายด์เซ็ต คือ ปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคิจิทัล เนื่องจากเกี่ยวข้องกับทัศนคติที่พร้อมจะปรับตัว รวมถึงแรงจูงใจที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นในการเรียนรู้ ทำให้ดิจิทัลมายด์เซ็ตมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (Snowball sampling) นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 56 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต แบบประเมินดิจิทัลมายด์เซ็ต แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ได้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตเพื่อพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ตซึ่งเป็นชุดกิจกรรมแบบผสมผสานโดยมีสัดส่วนการเรียนรู้แบบออนไลน์ : ออนไซต์ : ออนแอร์และออนดีมานด์ เท่ากับ 50:30:20 แผนกิจกรรมการเรียนรู้มีระยะเวลาโดยรวม 60 ชั่วโมง ขั้นตอนของการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สำรวจตนเองและตั้งค่าเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ฝึกคิดอย่างรวดเร็ว ปรับวิถีคิด ขั้นที่ 3 พัฒนาต้นแบบแห่งความท้าทาย ขั้นที่ 4 ทบทวนและเรียนรู้จากผลงานและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผลของการใช้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิต พบว่า นักศึกษามีการพัฒนาดิจิทัลมายด์เซ็ต เพิ่มสูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .64 จัดอยู่ในระดับมาก สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีดิจิทัลมายด์เซ็ตในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .62 เมื่อพิจารณาคุณลักษณะดิจิทัลมายด์เซ็ตรายด้าน พบว่า นักศึกษาระบุว่าตนเองมีการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลมายด์เซ็ตเพิ่มสูงขึ้นในทุกมิติ โดยมิติด้านอารมณ์มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิต นักศึกษาทุกคนได้รับการบ่มเพาะ ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง เสริมความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดความตระหนักรู้และมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้น สามารถพัฒนาให้เป็นผู้มีดิจิทัลมายด์เซ็ต และมีใจเปิดกว้างพร้อมรับการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตได้ ทั้งนี้ ผลประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมธนาคารหน่วยกิตอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .60
Description
Citation
View online resources
Collections