ผลของการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริงต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
ผลของการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริงต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
Authors
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลัง การจัดการเรียนการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริงต่อการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ลงทะเบียนในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือหรือสื่อในการวิจัยหุ่นทารกเสมือนจริง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 3) แผนการสอนทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา รวมทั้ง 3 ท่าน เท่ากับ 0.63 จึงนำไปใช้กับผู้เรียน ทดสอบค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธ์อัลฟาคครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล (รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น) ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบวิเคราะห์ และประเมินผลโดยใช้สื่อเป็นหุ่นทารกเสมือนจริง โดยใช้สถิติทดสอบเป็น Mann-Whitney U test เนื่องจากการกระจายของข้อมูลไม่เป็นแบบโค้งปกติ ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบคะแนนของผู้เรียน มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน เฉลี่ย 17.04 และมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 18.86 เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนมีความแตกต่างกัน (p = .020) ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนที่มีแผนการสอนแบบวิเคราะห์และประเมินผล สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้