แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการไทยร่วมสมัยในประเด็นท้าทายจากการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการไทยร่วมสมัยในประเด็นท้าทายจากการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน
Recommended by
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการไทยร่วมสมัย ในประเด็นท้าทายจากการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสานโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ภาคีที่เกี่ยวข้องกับในระบบเศรษฐกิจแบ่งปันและผู้ทรงคุณวุฒิในการสอบทานการนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการไทยให้เกิดความสมดุลลดความขัดแย้ง ถูกต้องตามกฎหมายและนิติธรรมเพื่อความยั่งยืน และการวิจัยเชิงปริมาณข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 203 คนและนักท่องเที่ยวชาวไทย 478 คน รวมทั้งหมด 681 คน การวิจัยพบว่า องค์ประกอบของความขัดแย้งระหว่าง วิสาหกิจเริ่มต้น แพลตฟอร์มร่วมสมัยและรัฐบาลที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของประเทศไทยจากการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันนั้นเกิดจากการเข้าถึงแพลตฟอร์มร่วมสมัยที่ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นเร็ว ขณะที่มีต้นทุนต่ำ และเข้าถึงลูกค้าจากแพลตฟอร์มร่วมสมัย ธุรกิจเดิมไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับวิสาหกิจเริ่มต้นในแพลตฟอร์มร่วมสมัยเหล่านี้ได้เนื่องจาก รัฐบาลไม่มีนโยบาลรองรับวิสาหกิจเริ่มต้นในแพลตฟอร์มร่วมสมัยจึงไม่มีค่าภาษี ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกกลุ่มลูกค้าเนื่องจากอาจจะเกิดความเสียหายของทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้น และความปลอดภัยอันเนื่องมาจากความน่าเชื่อถือของผู้เช่าและผู้ให้เช่า อีกทั้งนี้วิสาหกิจเริ่มต้นในแพลตฟอร์มร่วมสมัยสามารถตอบโจทย์สำหรับนักเดินทางกลุ่มย่อยเท่านั้น พฤติกรรมและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในการใช้แพลตฟอร์มร่วมสมัยของชาวต่างประเทศและนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี โดยกลุ่มรองของนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี ขณะที่กลุ่มรองของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นกลุ่มที่ต่ำกว่า 20 ปี โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมีอาชีพด้านบริการและอื่น ๆ โดยมาจากกลุ่มวัยเรียน โดยมีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อพักผ่อน มีระยะเวลาเข้าพัก 2-4 วัน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมใช้บริการธุรกิจในระบบเศรษฐกิจแบ่งปันและเลือกที่พักในระบบเศรษฐกิจแบ่งปันที่สามารถประหยัดงบประมาณในการท่องเที่ยวได้มากกว่า ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเลือกที่พักได้หลากหลายกว่าแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการไทยให้เกิดความสมดุล ลดความขัดแย้ง ถูกต้องตามกฎหมายและนิติธรรมเพื่อความยั่งยืนสืบไป การออกแบบนโยบายเพื่อให้สอดคล้องตามการดำเนินการกิจการในประเทศไทย ที่พัก รถยนต์และบุคคลที่ดำเนินธุรกิจด้านการท่องเที่ยวภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบ่งปันต้องขึ้นทะเบียนกับภาครัฐและมีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยธุรกิจที่พักในระบบเศรษฐกิจต้องขึ้นทะเบียนภาครัฐ และสามารถให้บริการได้ไม่เกิน 180 ต่อปี และมีจำนวนห้องพักในครอบครองไม่เกิน 30 ที่พัก โดยมีการเสียภาษีมากกว่าโรงแรมที่พักปกติร้อยละ 10 ของรายได้ ธุรกิจด้านการเดินทางและการนำเที่ยวในระบบเศรษฐกิจต้องขึ้นทะเบียนภาครัฐ มีใบขับขี่เฉพาะสำหรับการให้บริการในระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ชำระภาษีตามรายได้ที่ได้รับ