รูปแบบการกระจายน้ำและขอบเขตการเปียกชื้นของดินจากระบบชลประทานแบบหยดน้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่แห้งแล้ง
dc.contributor.author | สุรชาติ สินวรณ์ | |
dc.contributor.author | ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ ทิพาวรรณ วรรณขัณฑ์ | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:05Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:05Z | |
dc.description.abstract | รูปแบบการเปียกชื้นของดินในแปลงทดลองปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ตำบลทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีตลอดช่วงฤดูปลายฝน ปี พ.ศ. 2560 (เดือนตุลาคม 2559-พฤษภาคม 2560) โดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 โดยใช้พื้นที่ทดลอง 3.15 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อหาผลโดยรวมของการให้น้ำชลประทาน วิธีการให้น้ำชลประทานทั้ง 4 วิธี คือ ระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) และ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ต่อการเติบโต ผลผลิตหัวสด องค์ประกอบของผลผลิต การดูดใช้ธาตุอาหารหลัก (NPK) ประสิทธิภาพของพืชในการใช้น้ำชลประทานและผลตอบแทนจากการปลูกมันสำปะหลังโดยระบบชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยผลการให้น้ำชลประทานและวิธีการชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยวิธีการเฉลี่ยจากการใช้น้ำชลประทานทุกระบบแสดงให้เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโต ผลผลิตหัวสด การดูดใช้ธาตุอาหารหลัก (NPK) ในช่วงการให้น้ำโดยระบบชลประทานแบบต่างๆ และมีรูปแบบการเปียกชื้นในดินที่เตกต่างกันด้วยเช่นกัน รวมถึงประสิทธิภาพการใช้น้ำของมันสำปะหลังอย่างชัดเจน โดยที่ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้ผลตอบสนองโดยรวมสูงที่สุด รองลงมาระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) และระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน 40 (SDI) ขณะที่การศึกษาในรูปแบบการเปียกชื้นในดินจากระบบชลประทานทั้ง 4 ระบบ โดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของหัวจ่ายน้ำจากต้นมันสำปะหลังที่ 5 10 และ 15 เซนติเมตรแนวขวาง และหัวจ่ายน้ำที่ ระยะ 10 30 และ 40 เซนติเมตร ตามระยะแนวดิ่ง โดยวัดความชื้นในดินที่ระยะทันทีหลังให้น้ำเสร็จ หลังให้น้ำเสร็จเป็นเวลา 1 ชั่วโมงและหลังให้น้ำเสร็จเป็นเวลา 3 ชั่วโมง โดยพบว่าที่ระยะแนวขวางการให้น้ำผ่านหัวจ่ายน้ำที่มีระยะห่างจากต้นมันสำปะหลังที่ 5 เซนติเมตร จะให้การรูปแบบการกระจายน้ำอย่างสม่ำเสมอกว่าระยะห่างของหัวอื่นๆ ส่วนในแนวดิ่งรูปแบบการกระจายจะสม่ำเสมอและคงที่ เมื่อให้น้ำที่ระยะลึก 40 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื่องจากเป็นระยะต่ำกว่ารากมันสำปะหลังทำให้ไม่เกิดการแช่น้ำของราก (หัว) มันสำปะหลัง และอยู่ใกล้กับระยะรากมันสำปะหลังทำให้สามารถดูดใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าระยะอื่น การปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ในแปลงทดลองมันสำปะหลังโดยใช้พันธุ์ห้วยบง 80 ในปลายฤดูฝนปี พ.ศ. 2560 ในพื้นที่ 3.15 ไร่ โดยระบบชลประทานทั้ง 4 แบบ ซึ่งเมื่อพิจารณาต้นทุนและรายได้ของการปลูกมันสำปะหลังที่ใช้ระบบชลประทานแต่ละแบบแล้ว พบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังจากการใช้ระบบชลประทานทั้ง 4 แบบ ให้ผลผลิตมันสำปะหลังที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเมื่อมีการใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 7,097 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) เท่ากับ 5,707 กิโลกรัมต่อไร่ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) เท่ากับ 3,392 กิโลกรัมต่อไร่ และแบบหยดบนผิวดิน (SDI) เท่ากับ 2,914 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเมื่อนำราคากลางของมันสำปะหลังในภาคกลาง ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2560 ราคาของมันสำปะหลังสดจะเท่ากับ 2.20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้จากผลผลิตมันสำปะหลังที่เกิดจากการให้น้ำจากระบบชลประทานแบบต่างๆ คือ การใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้รายได้สูงที่สุดเท่ากับ 15,613 บาทต่อไร่ รองลงมาคือระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 30 เซนติเมตร (SSDI30) เท่ากับ 12,555.40 บาทต่อไร่ ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 10 เซนติเมตร (SSDI10) เท่ากับ 7,462.40 บาทต่อไร่ และระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) เท่ากับ 6,410.80 บาทต่อไร่ เมื่อนำต้นทุนรวม (คงที่+ผันแปร) มาหักออกจากรายได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่า รายได้ที่เหลือคือรายได้เหนือต้นทุน ซึ่งการใช้ระบบชลประทานแบบหยดใต้ดินลึก 40 เซนติเมตร (SSDI40) ให้รายได้เหนือต้นทุนสูงที่สุดเท่ากับ 11,578 บาทต่อไร่ ส่วนระบบชลประทานแบบหยดบนผิวดิน (SDI) ให้รายได้เหนือต้นทุนต่ำที่สุดเท่ากับ 2,818 บาทต่อไร่ | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7267 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | น้ำใต้ดิน | |
dc.subject | การเติบโตของพืช | |
dc.subject | ความชื้นในดิน | |
dc.subject | มันสำปะหลัง | |
dc.title | รูปแบบการกระจายน้ำและขอบเขตการเปียกชื้นของดินจากระบบชลประทานแบบหยดน้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่แห้งแล้ง | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2767 |