การศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์

dc.contributor.authorกาญจนา เดชภิญญา
dc.date.accessioned2025-02-05T09:22:36Z
dc.date.available2025-02-05T09:22:36Z
dc.date.issued2019-06-01
dc.descriptionวิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเลือกแบบเจาะจงจากระดับสติปัญญา 50-70 ไม่มีพิการซ้อน มีจำนวนทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้การประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ จำนวน 8 แผน แบบประเมินระหว่างเรียนแต่ละแผน จำนวน 8 ชุด และแบบประเมินความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการประกอบอาหารก่อนและหลังที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วน าคะแนนที่ได้จากการประเมินท าการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 คะแนนระหว่างการพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.50 และคะแนนหลังการพัฒนาความสามารถในการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนดไว้ (E1/E2 เท่ากับ 80/80) 2) ความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่า นักเรียนมีคะแนนอยู่ระหว่าง 140-176 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 161.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.20 3) การเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .028) แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหลังพัฒนาความสามารถด้านการประกอบอาหารโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีการพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
dc.identifier.otherวพ LC4815 ก425 ก6 2562
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2792
dc.language.isoth
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
dc.subjectการศึกษาและการสอน
dc.subjectการประกอบอาหาร
dc.titleการศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
dc.title.alternativeA Study of Cooking Abilities of Students with Intellectual Disabilities, Panyawuthikorn School by Using the Davies' Practical Skill Model
dc.typeThesis
mods.location.urlhttps://sdu-opac.dusit.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=92029&query_desc=kw%2Cwrdl%3A%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
GRS_THE_2562_SEd_02_กาญจนา.pdf
Size:
3.52 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Default Image
Name:
license.txt
Size:
371 B
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description: