กลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา

dc.contributor.authorศุภศิริ บุญประเวศ
dc.contributor.authorกาญจนา ผิวงาม
dc.contributor.authorสุภัค เนตรบุษราคำ
dc.date.accessioned2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.available2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.issued2024
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศและต่างประเทศ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง อาจารย์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยการบังเอิญ (Accidental Sampling) 2) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ด้านการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการบริหารการศึกษาจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 3) สถาบันอุดมศึกษาในประเทศ จำนวน 7 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 5 แห่ง โดยเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา 4) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการรับรองรูปแบบกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การคำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI) การหาค่าความเที่ยง การหาค่าความเชื่อมั่น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) จากการศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ 10 แห่ง และต่างประเทศ 10 แห่ง โดยศึกษารูปแบบการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ทั้ง 5 ประเภท พบว่า 1) รูปแบบการนำเสนอ ใช้ข้อความหรือตัวอักษรที่มีขนาดสั้นและใช้แฮชแท็ก (#) ในทุกข้อความ มีการใช้ภาพนิ่งหรือคลิปวิดีโอขนาดสั้นตามลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์แต่ละประเภท 2) ความถี่ในการสื่อสาร มีการนำเสนอเนื้อหา 1-3 โพสต์ต่อวัน โดยมีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน 3) ประเภทของเนื้อหา ได้แก่ 3.1) การสร้างและการประกาศตัวตน 3.2) การนำเสนอเนื้อหาหรือข่าวสารที่น่าสนใจ 3.3) การเผยแพร่กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ 4) ลักษณะการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารทางเดียว 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ลักษณะสำคัญของกลยุทธ์มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ช่องทางการเข้าถึง 2) รูปแบบการนำเสนอ 3) ความถี่ในการสื่อสาร 4) เนื้อหา และ 5) ลักษณะการสื่อสาร
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5234
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectกลยุทธ์การสื่อสาร
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์
dc.titleกลยุทธ์การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=4182
Files
Collections