กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมการบริการที่พักเพื่อให้ได้มาตรฐานวิชาชีพ
dc.contributor.author | วริษฐา แก่นสานสันติ | |
dc.contributor.author | รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ | |
dc.contributor.author | บุญญลักษม์ ตำนานจิตร | |
dc.date.accessioned | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.date.available | 2025-05-16T05:52:14Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของบุคลากรอุตสาหกรรมด้านที่พัก 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะวิชาชีพอุตสาหกรรมด้านที่พัก 3) เพื่อประเมินการอบรมการพัฒนาทักษะวิชาชีพอุตสาหกรรมด้านที่พัก และ 4) เพื่อพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานบุคลากรอุตสาหกรรมด้านที่พัก วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงแรม ในสถานที่พักในเขตอารยธรรมล้านนา ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูนและน่าน จำนวน 403 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยใช้จำนวนร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย ผู้บริหารโรงแรม นักวิชาการ บุคลากรภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมการท่องเที่ยว และพนักงานที่พัก โดยการสัมภาษณ์บุคลากรทั้ง 4 กลุ่มละ 5 คน รวม 20 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยอาศัยหลัก/ทฤษฎีการนำเสนอจะใช้วิธีการนำเสนอโดยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา (Descriptive Approach) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 403 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานอยู่ในแผนก/ฝ่ายต้อนรับส่วนหน้า มีประสบการณ์การทำงาน ด้านโรงแรม 1-5 ปี มีรายได้รวมทั้งหมด 7,001-10,000 บาท ด้านศักยภาพของบุคลากรอุตสาหกรรมด้านที่พัก พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีศักยภาพด้านที่พักในระดับมาก ขณะที่ทักษะด้านภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับน้อยที่สุด ผลการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพอุตสาหกรรมด้านที่พัก พบว่า มีความต้องการพัฒนาตนเองในระดับมาก และหลักสูตรพัฒนาทักษะวิชาชีพที่ต้องการเพิ่มศักยภาพการทำงาน ได้แก่ หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในโรงแรมมากที่สุด และผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงแรม พบว่า ต้องการให้พนักงานพัฒนาตนเองด้านจิตวิทยาการบริการและทักษะภาษาอังกฤษ ร้อมที่จะสนับสนุนพนักงานไปอบรมพัฒนาทักษะวิชาชีพตามความเหมาะสม หลังจากที่ได้ทำการอบรมเรียบร้อยแล้ว จึงได้พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานบุคลากรอุตสาหกรรมด้านที่พักให้กับบุคลากรด้านที่พักเพื่อให้ได้ทบทวนและศึกษาซ้ำ และให้บุคลากรที่ไม่ได้เข้าอบรมได้รับความรู้และพัฒนาตนเองได้จากคู่มือเช่นกัน | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6727 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | อุตสาหกรรมการบริการ | |
dc.subject | การบริการที่พัก | |
dc.subject | นักท่องเที่ยว | |
dc.subject | บุคลากร -- การพัฒนา | |
dc.title | กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมการบริการที่พักเพื่อให้ได้มาตรฐานวิชาชีพ | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2538 |