การพัฒนาต้นแบบการจัดการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

Date
2023
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาต้นแบบการจัดการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
Recommended by
Abstract
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบการจัดการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) เพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุในการจัดการดูแลสุขภาพ 3) จัดทำฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและติดตามการมารับบริการสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 4) พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ของการพึ่งพิงของผู้สูงอายุและ ความเป็นไปได้ใน การพัฒนาแอพพลิเคชั่น จากผู้ให้ข้อมูล 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนา Application และประชุมวางแผนการจัดการดูแลโดยคณะผู้วิจัย โปรแกรมเมอร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลองตอง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาร่างรูปแบบการจัดการดูแลผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แล้วจัดประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะ อสม. และผู้ดูแลจำนวน 18 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน และพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นในผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแลผ่าน การตรวจสอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบประเมินประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่น วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณา และสถิติที ระยะที่ 3 นำแบบแผนการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและแอพพลิเคชั่นไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ร่วมกับติดตามเยี่ยมบ้านต่อความเครียดของผู้ดูแลจากผลวิเคราะห์ด้วยสถิติ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าหลังใช้โปรแกรม (สัปดาห์ที่ 6)และติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) พบค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนใช้โปรแกรม (สัปดาห์ที่ 0) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของ p < .05 โปรแกรมนี้จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการลดความเครียดของผู้ดูแล
สรุป: งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนอื่นเพื่อการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ