การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบถังดักไขมันที่บำรุงรักษาได้ง่ายและ แนวทางการบำบัดนำเสียขั้นสุดท้ายจากการผลิตอาหารและบริการที่มีประสิทธิภาพ

dc.contributor.authorประวรดา โภชนจันทร์
dc.contributor.authorจตุรดา โภชนจันทร์
dc.contributor.authorวีรชน ภูหินกอง
dc.contributor.authorธนพล ภัทรสัจจานันท์
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:04Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:04Z
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้งานของถังดักไขมันกับสถานประกอบการร้านอาหารเขตบางพลัด เพื่อศึกษากรณีศึกษาของถังดักไขมันที่บำรุงรักษาได้ง่าย และระบบบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้าย และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของถังดักไขมันที่เหมาะสมกับสถานประกอบการร้านอาหาร พบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารเขตบางพลัด ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 100 ตารางเมตร จากข้อมูลจริง ข้อมูลร้านอาหาร 177 ราย และได้สำรวจผู้ประกอบการอาหารเขตบางพลัด จำนวน 64 ร้าน โดยเลือก 100 เปอร์เซนต์จากร้านที่มีขนาดน้อยกว่า 100 ตารางเมตร พบว่า พื้นที่ที่สำรวจ ประกอบไปด้วย 4 แขวง ดังนี้ แขวงที่ 1 (แขวงบางพลัด) แขวงที่ 2 (บางยี่ขัน) แขวงที่ 3 (บางอ้อ) แขวงที่ 4 (บางบำหรุ) จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 42 - 50 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช./ปวส. รายได้ ระหว่าง 11,000 - 15,000 บาท ช่วงเวลาเปิด/ปิด ร้านในระยะเวลาอื่น ๆ ที่นั่งลูกค้าต่อที่มากกว่า 5 ที่ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ใช้ถังดักไขมัน ส่วนใหญ่ไม่มีถังดักไขมันภายในร้าน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้งานถังดักไขมัน เคยได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการใช้งานถังดักไขมัน โดยชนิดของสื่อที่ได้รับมากที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จากโทรทัศน์ และจากบุคคลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้มากเกี่ยวกับการใช้งานถังดักไขมัน พฤติกรรมการใช้งานถังดักไขมันของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมสูง (ค่ารวมเฉลี่ย 4.48) ปัจจัยในการเลือกใช้ถังดักไขมัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมสูง (ค่ารวมเฉลี่ย 4.09) โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งานถัง ดักไขมันของผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ รายได้ ระยะเวลาของการเปิดร้านอาหาร การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับถังดักไขมัน ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานบ่อดักไขมัน และความถี่ในการได้รับการตรวจสอบร้านอาหารจากเจ้าหน้าที่ ถังดักไขมันต้นแบบ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ตะแกรงดักเศษอาหาร ทำหน้าที่ กรองสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ เช่น เศษอาหารเพื่อลดความสกปรกขั้นแรก 2) แผ่นพลาสติกกั้น ส่วนแยกไขมันและน้ำ 3) ท่อระบายน้ำทิ้ง เป็นท่อระบายน้ำสำหรับน้ำที่แยกไขมันออกแล้วลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และ 4) วาล์วเปิด ตะกอนไขมันทิ้ง เป็นท่อระบายตะกอนออกจากถังดักไขมัน ซึ่งควรมีการล้างทำความสะอาดถังดักไขมันทุก 4 - 5 ครั้งต่อเดือน และจากการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัด ความคงทนและความพึงพอใจของผู้ใช้ พบว่า ผลการวิเคราะห์จากการเก็บตัวอย่างน้ำเสียเข้านำออกการบำบัดจากถังดักไขมัน มีค่าความเป็นกรด - ด่าง ค่าน้ำมันและไขมัน ค่าบีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอย อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานที่กำหนด ประสิทธิภาพของ ถังดักไขมัน ร้อยละ 100, 98.82, 98.04 และ 99.12 ตามลำดับ และผลการทดสอบความคงทนของถังดักไขมัน โดยทดสอบจากสภาพความปกติถังและอุปกรณ์ การทำความสะอาดถังทุกวันตามที่ให้ความรู้ความ เข้าใจการใช้ถังดักไขมัน การทดสอบการรั่วซึมของน้ำจากถัง พบว่า ถังดักไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีความ พึงพอใจถังดักไขมัน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของร้านค้าที่เป็นผู้ใช้ถังดักไขมัน ความพึงพอใจถังดักไขมัน ร้อยละ 90
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7214
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการบำบัดน้ำเสีย
dc.subjectการออกแบบถังดักไขมัน -- บำรุงรักษา
dc.titleการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบถังดักไขมันที่บำรุงรักษาได้ง่ายและ แนวทางการบำบัดนำเสียขั้นสุดท้ายจากการผลิตอาหารและบริการที่มีประสิทธิภาพ
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2780
Files
Collections