แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี
dc.contributor.author | รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-19T07:35:21Z | |
dc.date.available | 2025-02-19T07:35:21Z | |
dc.date.issued | 2066-01-01 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยอาศัยหลักการจัดการความเสี่ยงของ COSO(COSO, 2020) เป็นฐานแนวคิดในกระบวนการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เกี่ยวข้องทางการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนหน่วยงานภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการจัดการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับ การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คนและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับ การเสวนา กลุ่มย่อย จำนวน 20 คนผลจากการศึกษา พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการเป็นเมืองแห่งกีฬา ประกอบด้วย(1) ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการกีฬาและการท่องเที่ยวอย่างจริงจังจากผู้นำที่มีอิทธิพลในจังหวัด (2) ขาดการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย (3) ขาดประสิทธิภาพด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และ(4) สถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเลือกดำเนินการด้วย 2 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การควบคุมความเสี่ยงและกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) จัดทำแผนความร่วมมือและกำหนดบทบาทด้านการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในระยะยาว(2) จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมเชิงกีฬาที่สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยง สร้างความร่วมมือในการพัฒนา การท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมเชิงกีฬาสากล (3) นำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (4) สร้างความหลากหลายของกิจกรรมเชิงกีฬา ทั้งในระดับชุมชน องค์กร และระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง และ (5) การพัฒนาระบบความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมเหตุการณ์การแพร่กระจายของโรคระบาดและภัยทางธรรมชาติการศึกษานี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดด้านการกำหนดนโยบายเชิงกีฬาและการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ภาคีเครือข่ายสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดจากผลงานวิจัยนี้เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและออกแบบแนวทางการจัดการความสัมพันธ์การท่องเที่ยวและกีฬาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าแข่งขันและผู้เข้าร่วมงานกีฬา ตลอดจนนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมภายใต้จุดเด่นที่มีของจังหวัด | |
dc.identifier.citation | รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์. (2567). แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 41(2), 112-137. | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3877 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | |
dc.subject | #การท่องเที่ยวเชิงกีฬา #การบริหารความเสี่ยง #กลยุทธ์ | |
dc.title | แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี | |
dc.type | Article |