กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง

dc.contributor.authorเธียรรัตน์ ฉัตรภัทรพล
dc.contributor.authorไกรศักดิ์ พิกุล
dc.date.accessioned2025-05-16T05:52:13Z
dc.date.available2025-05-16T05:52:13Z
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) เพื่อศึกษาตลาดเป้าหมายของประชากรสูงวัยต่อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (3) เพื่อสร้างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดต่อประชากรสูงวัยสำหรับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง อายุ 55-70 ปี จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้มีการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ รวมทั้งประชุมกลุ่มย่อย โดยผลการศึกษา พบว่า เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย ด้านสินค้าเชิงสุขภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในขณะที่ด้านบริการเชิงสุขภาพ ได้แก่ การบริการบ่อน้ำผุร้อนโดยอุทยานแจ้ซ้อน, บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นต้น สำหรับตลาดเป้าหมายของประชากรต่อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว พบว่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 ถึง 25,000 บาทต่อเดือน ทำอาชีพเป็นเจ้าของธุรกิจและข้าราชการเกษียณ มีภูมิลำเนามาจากจังหวัดภาคเหนือ ชอบท่องเที่ยวกับเพื่อนมากกว่าท่องเที่ยวกับครอบครัวสำหรับการสร้างกลยุทธ์การสื่อสาร การตลาดได้มีการพัฒนามาจากการวิเคราะห์แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิเคราะห์ ความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ การค้นหาจุดเด่นของพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวางแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการวางแผนการตลาดการสื่อสาร รวมทั้งการลงกิจกรรมในปฏิทินการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกทั้งยังนำผลการศึกษาที่ได้ไปทำการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ให้บริการ พบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวปลอดสารเคมี, กิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ปลีกวิเวก, การตั้งศูนย์การให้ข้อมูล กิจกรรมการท่องเที่ยว, การส่งเสริมอีเว้นท์ที่เปลี่ยนแปลงได้, การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวกับเพื่อนไม่ลำพัง, และการส่งเสริมกิจกรรมรับสิ่งใหม่ ให้สิ่งเก่า ทั้งนี้กลยุทธ์การส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าว อยู่บนแนวคิด การค้นหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในเรื่องราวเก่า ๆ (ที่ไม่หมุนตามกาลเวลา) และแบ่งปันประสบการณ์เก่า ๆ กับผู้คนใหม่ ๆ (บนความสุขที่ไม่ลำพัง) ทั้งนี้ผลการศึกษาหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดลำปาง และหน่วยงานเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง สามารถนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดไปใช้เพื่อดึงดูด นักท่องเที่ยวกลุ่มสูงวัยต่อไปนี้ในอนาคต
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6682
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.subjectการสื่อสารการตลาด
dc.subjectส่งเสริมสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
dc.titleกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3335
Files
Collections