การเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยของมันสำปะหลัง โดยการควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P K ในรูปแบบของเจลบีด

dc.contributor.authorณัฐบดี วิริยาวัฒน์
dc.contributor.authorสุรชาติ สินวรณ์
dc.contributor.authorกันต์ ปานประยูร
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:04Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:04Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P K ในรูปแบบอัลจิเนตเจลบีดและคาราจีแนนเจลบีด ศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปลดปล่อยธาตุอาหาร และอัตราการสลายตัวทางชีวภาพ ทดสอบประสิทธิภาพในการปลดปล่อยธาตุอาหารและประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยและการเติบโตของมันสำปะหลังในแปลงทดลองในโรงเรือน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอัลจิเนตเจลบีดกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยที่ขายในท้องตลาด และปุ๋ยเคมี ผลการวิจัยพบว่า เจลบีดที่มีการห่อหุ้มด้วยอัลจิเนต 2% มีการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P และ K ได้ดีกว่าเจลบีดที่ห่อหุ้มด้วยคาราจีแนน 1% โดยอัลจิเนตเจลบีด 2% สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้สูงสุดถึง 49 วัน ในขณะที่คาราจีแนนเจลบีด 1% ปลดปล่อยได้สูงสุดเพียง 28 วันเท่านั้น โดยความชื้นประจุภาคสนามที่เหมาะสมกับการปลดปล่อยธาตุอาหารอยู่ระหว่าง 0 – 15 บาร์ และ pH ในดินที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 5.5 - 8.0 นอกจากนี้ ทุกตำรับการทดลองของปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารชนิดอัลจิเนตเจลบีด มีผลทำให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นมากกว่าตำรับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยละลายช้าที่มีอยู่ในท้องตลาดและปุ๋ยเคมี ในทุกช่วงอายุมันสำปะหลัง
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7189
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectมันสำปะหลัง
dc.subjectปุ๋ยอินทรีย์
dc.subjectปุ๋ยเคมี
dc.subjectปุ๋ย -- ประเภท
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยของมันสำปะหลัง โดยการควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร N P K ในรูปแบบของเจลบีด
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2661
Files
Collections