การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Default Image
Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
Recommended by
Abstract
การวิจัยนี้เป็นแบบผสมวิธีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการชะลอไต และขั้นตอนที่ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภาวะสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3b – ระยะ 4 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 6 ภาคตามเขตการปกครอง คัดเลือกจังหวัดตัวแทนภาคโดยการสุ่มอย่างง่าย ภาคละ 2 จังหวัด รวมทั้งหมด 12 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกโดยรับสมัครผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดภาคละ 15 คน รวม 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แนวคําถามในการสัมภาษณ์ เครื่องบันทึกเสียง และแบบบันทึกภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสะท้อนคิดเพื่อค้นหาบริบทที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการชะลอไต ส่วนกลุ่มตัวอย่างขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกโดยการรับสมัครผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จังหวัดละ 100 คน รวมทั้งหมด 1,200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้มีค่าความเชื่อมั่น .93 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.บริบทที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองเพื่อการชะลอไตมี 7 ประการ คือ 1.1) การมีข้อมูลด้านสุขภาพเพียงพอ 1.2) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 1.3) การเข้าถึงบริการได้ง่าย ใกล้บ้าน 1.4) ความเชื่อมั่นในแพทย์และพยาบาลผู้ให้บริการ 1.5) การสนับสนุนจากครอบครัว 1.6) การมีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ/ช่องทางผ่อนคลายความเครียด และ 1.7) การมีเป้าหมายในชีวิต 2. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=103.57, SD=16.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ (M=6.34, SD=1.93), ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (M=22.06, SD=5.68), ด้านการประเมินข้อมูลสุขภาพ (M=18.01, SD=5.43), ด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ (M=22.67, SD=3.29), และด้านการจัดการตนเองด้านสุขภาพ (M=19.58, SD=3.12) ส่วนอีก 1 ด้าน คือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพ อยู่ในระดับต่ำ (M=14.90, SD=3.09)3.ภาวะสุขภาพตามการรายงานตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยรวมอยู่ในระดับดี (M=3.69, SD=1.07) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับดี 3 ด้าน คือ ด้านจิตวิญญาณ (M=4.08, SD=.76), ด้านจิตใจ/อารมณ์ (M=3.78, SD=1.04), และด้านร่างกาย (M=366, SD=1.18) ส่วนด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.24, SD=1.05) 4. ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (r=.410)
Description
Citation
View online resources
Collections