การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ

dc.contributor.authorปรียนันท์ ประยูรศักดิ์
dc.contributor.authorศุภวรรณ อภิชาติไตรสรณ์
dc.contributor.authorจินตนา ตันสุวรรณนนท์
dc.contributor.authorกฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ
dc.contributor.authorวิภาวี วลีพิทักษ์เดช
dc.contributor.authorสุทิตา จุลกนิษฐ์
dc.contributor.authorรัตนา วงศ์รัศมีเดือน
dc.contributor.authorภูชิตต์ ภูริปาณิก
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ สมไพบูลย์
dc.contributor.authorสราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์
dc.contributor.authorรรินทร วสุนันต์
dc.contributor.authorสุรพงษ์ นิ่มเกิดผล
dc.contributor.authorนงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร
dc.contributor.authorสุริษา ประสิทธิ์แสงอารีย์
dc.contributor.authorรติญา นนทิราช
dc.contributor.authorสวรรยา พิณเนียม
dc.contributor.authorอัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ
dc.contributor.authorนุชฤดี รุ่ยใหม่
dc.contributor.authorวิสาขา เทียมลม
dc.contributor.authorมนสินี สุขมาก
dc.contributor.authorศานสันต์ รักแต่งาม
dc.contributor.authorชุษณะ จันทร์อ่อน
dc.date.accessioned2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.available2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.issued2023
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ (1) ศึกษาองค์ประกอบและสภาพปัจจุบันของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของ การสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (3) ศึกษาการรับรู้ ความคาดหวัง และ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานคือวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาครัฐจำนวน 5 คน และภาคเอกชนจำนวน 3 คน รวมถึงการใช้แบบสังเกตในการลงพื้นที่โดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ในขณะที่วิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน ผู้ประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี และนักท่องเที่ยว โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 460 คน ได้รับการตอบกลับ 423 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการสื่อสารแบรนด์อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งองค์ประกอบของการสื่อสารแบรนด์จังหวัดประกอบด้วย (1) ผู้ผลิตและผู้ส่งสาร คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการฐานะผู้กำหนดนโยบาย และคณะกรรมการขับเคลื่อนแบรนด์น้องเหน่อในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (2) สาร คือ การกำหนดอัตลักษณ์และบทบาทของการมาสคอต (3) การสื่อสารการตลาด คือ การใช้สื่อและกิจกรรมในการสื่อสารแบรนด์จังหวัด (4) ผู้รับสาร คือ ประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่มีการรับรู้ มีส่วนร่วมเกี่ยวกับสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารแบรนด์ ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างของมาสคอต ความชัดเจนในการกำหนดอัตลักษณ์ของมาสคอตน้องเหน่อ และการใช้สื่อและการวางแผนการสื่อสารการตลาดด้านการรับรู้ส่วนใหญ่มีการรับรู้วัตถุประสงค์ในการสร้างมาสคอตน้องเหน่อ ส่วนความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อการสื่อสาร แบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อพบว่า ความพึงพอใจ และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อประกอบด้วย 11 ประเด็น ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างของ มาสคอต (2) การกำหนดแนวทางการสื่อสารและการนำเสนอภาพลักษณ์ (3) ความชัดเจนใน การสะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี (4) บทบาทของมาสคอตในฐานะเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (5) การปรากฏตัวของน้องเหน่อ (6) การใช้สื่อในการสื่อสารมาสคอต (7) การสื่อสารด้วยการเล่าเรื่อง (8) การสร้างแผนการสื่อสารเชิงรุก (9) เกณฑ์ในการขออนุญาตใช้ตราน้องเหน่อ (10) การกำหนดองค์ประกอบมาตรฐานของตราน้องเหน่อ และ (11) มาตรฐานการผลิตหุ่นน้องเหน่อให้สอดคล้องกับมาสคอตน้องเหน่อ
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5253
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการสื่อสารแบรนด์
dc.subjectการสื่อสารการตลาด
dc.titleการสื่อสารแบรนด์จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านมาสคอตน้องเหน่อ
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3698
Files
Collections