กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี

dc.contributor.authorจิรัฐ ชวนชม
dc.contributor.authorยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล
dc.contributor.authorพรเพ็ญ ไตรพงษ์
dc.contributor.authorพิมพ์มาดา วิชาศิลป์
dc.contributor.authorสฤษดิ์ ศรีโยธิน
dc.contributor.authorขจีนุช เชาวนปรีชา
dc.contributor.authorนงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร
dc.contributor.authorธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน
dc.date.accessioned2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.available2025-03-18T06:37:22Z
dc.date.issued2023
dc.description.abstractงานวิจัย เรื่อง กระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี วัตถุประสงค์ของ การวิจัยเพื่อศึกษาความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว ความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยี ความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยว ความเข้มแข็งของชุมชน การประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยว การประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวและสร้างกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการแบบเจาะจง รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัยมีดังนี้ ความคาดหวังในการรับบริการต่อนวัตกรรมการบริการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.19, S.D. = .69) ส่วนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.36, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความสามารถการบูรณาการทางเทคโนโลยีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.14, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.34, S.D. = .74) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความร่วมมือในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .71) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.39, S.D. = .75) ความคาดหวังในการรับบริการต่อความเข้มแข็งของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.16, S.D. = .69) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .72) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นต่อประเมินโอกาสทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.35, S.D. = .73) ความคาดหวังในการรับบริการต่อประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.21, S.D. = .70) สำหรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.43, S.D. = .75) การประเมินสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.02, S.D. = .50) สำหรับกระบวนการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อ เพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการดำเนินการเกษตรแบบครัวเรือนในการพึ่งพาตนเองและการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อการพึ่งพาตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ในการนำความรู้มาช่วยเหลือเกษตรในพื้นที่ในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ ขั้นตอนที่ 3 การยกระดับเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม นำแนวคิดทางการบริหารมาปรับใช้ในการเกษตร ประกอบการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมการผลิต
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5240
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectสมรรถนะการจัดการ
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
dc.subjectแหล่งเรียนรู้นิเวศเกษตร
dc.titleกระบวนการยกระดับสมรรถนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพเกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3694
Files
Collections