การพัฒนาภาชนะเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหารแนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานการผลิตในจังหวัดสมุทรสาคร
dc.contributor.author | ปฤณัต นัจนฤตย์ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-10T00:08:38Z | |
dc.date.available | 2025-02-10T00:08:38Z | |
dc.date.issued | 2024-05-30 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และนําทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย โดยนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และ 2. เพื่อประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหาร แนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา 4 ขั้น โดยการสุ่มแบบเจาะจงที่หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสร้างต้นแบบภาชนะอาหารเบญจรงค์และทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงแนวคิดเอกลักษณ์ไทย พบว่า การสัมภาษณ์นักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร ผู้ผลิตเบญจรงค์ และสังเกตการณ์ทําเครื่องเบญจรงค์ พบว่า จาน คือ ภาชนะที่นิยมใช้มาก การเขียนภาพและลายที่แสดงเอกลักษณ์ไทยประกอบด้วย ภาพสัตว์ ภาพดอกไม้ และลวดลายต่าง ๆ ผลการพัฒนาแบบร่างและคัดเลือกแบบร่างภาชนะเบญจรงค์ จํานวน 15 ชุด ชุดละ 3 แบบ จํานวน 45 ชิ้นงาน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินผล ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 90 ถึง 98 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในระดับสูง โดยแบบร่างที่ได้รับการคัดเลือก คือ แบบไก่ แบบปลากัด แบบช้าง แบบนกยูง แบบดอกบัว แบบดอกราชพฤกษ์ แบบดอกกล้วยไม้ แบบลายรวงข้าว แบบลายมาลัย และ แบบลายดอกเข็ม ผลการสร้างต้นแบบภาชนะเบญจรงค์เป็นจานกลมขนาด 14 นิ้ว 11 นิ้ว และ 8 นิ้ว ชุดละ 3 ใบ จํานวน 10 ชุด และการทดลองจัดอาหารในงานเลี้ยงตามแนวคิดของนักออกแบบรูปลักษณ์อาหาร จํานวน 5 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จํานวน 3 คน ตรวจสอบความเหมาะสมรายการอาหาร และ ช่างภาพอาหาร จํานวน 3 คน เลือกภาพ โดยเป็นการจัดอาหารแบบพอดีคํา อาหารว่าง และ อาหารหวานสําหรับงานเลี้ยงแบบบุฟเฟต์ และ ค็อกเทล มีแจกันและของตกแต่งที่สอดคล้องแนวคิดภาพและลวดลายของจาน ซึ่งแนวคิดหลักเน้นการสื่อความหมายในทางมงคล และเป็นสัญลักษณ์ อันแสดงเอกลักษณ์ของไทย 2. ผลประเมินผลรับรองต้นแบบภาชนะ พบว่า การจัดนิทรรศการเพื่อรับรองผลได้จัดขึ้น ณ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี และผู้วิจัยสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลรับรอง โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบ ด้านการออกแบบรูปลักษณ์อาหาร และด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จํานวน 18 คน ให้การรับรองคุณภาพทุกชุดได้ผลการรับรองระดับคุณภาพดีมากที่สุด ทั้งภาพรวมและด้านต่าง ๆ ของแต่ละชุดโดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.900-4.700 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1, หน้า 230-244. | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/2995 | |
dc.language.iso | th | |
dc.subject | รูปลักษณ์อาหาร | |
dc.subject | ภาชนะเบญจรงค์ | |
dc.subject | เอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ | |
dc.title | การพัฒนาภาชนะเบญจรงค์ส่งเสริมรูปลักษณ์อาหารแนวคิดเอกลักษณ์ไทยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานการผลิตในจังหวัดสมุทรสาคร | |
dc.type | Article | |
mods.location.url | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/issue/view/ajnu15_1 |
Files
License bundle
1 - 1 of 1

- Name:
- license.txt
- Size:
- 371 B
- Format:
- Item-specific license agreed to upon submission
- Description: