รูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

dc.contributor.authorกัญญทอง หรดาล
dc.contributor.authorรุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์
dc.contributor.authorประศาสน์ นิยม
dc.date.accessioned2025-05-06T07:02:40Z
dc.date.available2025-05-06T07:02:40Z
dc.description.abstractการสร้างมูลค่าเพิ่มการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพการณ์ของการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกบนฐานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพปัญหาและสิ่งสนับสนุนของการจัดการเส้นทางโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยวในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกบนฐานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเลือกทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยผลการวิจัยพบว่า สถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านความสะอาด มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวมีความพร้อมในการป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) หรือโรคระบาดอื่น ๆ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต้องมีความสวยงามและน่าสนใจ รวมไปถึงบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยที่สนับสนุนส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในมุมมองของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และในท้ายที่สุดสำหรับรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จำเป็นต้องเข้าถึงองค์ประกอบทางด้านการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพอย่างครบถ้วน และมีความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ/แพร่เชื้อจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 2019) หรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในปัจจุบันนี้
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6558
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.subjectการท่องเที่ยว
dc.titleรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3489
Files
Collections