รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี
dc.contributor.author | สุชาดา โทผล | |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ เจริญพูล | |
dc.contributor.author | จันทรกานต์ ทรงเดช | |
dc.contributor.author | ณัฐธิดา กิจเนตร | |
dc.contributor.author | เมฐินีย์ นุ้ยสุด | |
dc.contributor.author | สุทัศน์ ด่านตระกูล | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:05Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:05Z | |
dc.description.abstract | รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพและความต้องการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของชุมชน และรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน คณะผู้วิจัยร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการกับชุมชนเพื่อกำหนด แผนการดำเนินงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้สูงอายุ 340 คน เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุ 3 ด้าน คือ การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง การออกกำลังกาย และอาหาร รวมทั้งศึกษาศักยภาพชุมชนที่ได้จากการรับรู้ของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากสนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลเชิงปริมาณของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 58.24 อายุ อยู่ระหว่าง 60 – 69 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.18 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 65.88 ระดับการศึกษา ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 88.24 อาชีพรับจ้างทั่วไปหรือเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 26.18 และ 25.59 ตามลำดับ รายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 51.76 ส่วนมากป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 76.17 2. ศักยภาพชุมชนในการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุเห็นด้วย ว่าเป็นสิ่งสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ประเด็นเกี่ยวกับผู้นำชุมชน ทรัพยากรบุคคล การสื่อสารในชุมชน และประเด็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะ 3. การศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน พบว่า ประกอบด้วย 1) กิจกรรมมีลักษณะที่ผู้สูงอายุสามารถทำด้วยตนเองได้ 2) กิจกรรมมีความหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน ประกอบด้วยความรู้ ปฏิบัติการ และสันทนาการ 3) กิจกรรมที่ทำต้องใช้เวลา น้อย และ 4) กิจกรรมที่ทำหากต้องมีอุปกรณ์และวัตถุดิบประกอบต้องหาได้ง่ายจากชุมชน 4. การสร้างแกนนำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ มีกระบวนการคัดเลือกจากเทศบาล ตำบลท่าเสด็จ จำนวน 10 คน และผ่านการอบรมโดยคณะผู้วิจัย 5. การจัดทำคู่มือกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน เพื่อให้เทศบาลตำบลท่าเสด็จใช้เป็นเครื่องมือ ในการจัดอบรมแกนนำและผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7262 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- สุขภาวะ | |
dc.subject | สุขภาวะ | |
dc.subject | ศักยภาพของชุมชน | |
dc.title | รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ บนพื้นฐานศักยภาพของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2820 |