การพัฒนานาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้ จากวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเพื่อรักษาคุณภาพและลดการสูญเสียผลผลิต
dc.contributor.author | ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ | |
dc.contributor.author | สุรชาติ สินวรณ์ | |
dc.date.accessioned | 2025-03-18T06:37:22Z | |
dc.date.available | 2025-03-18T06:37:22Z | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักและผลไม้จากวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ เปลือกกุ้งต้ม และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ได้แก่ ชานอ้อย และไขอ้อย โดยนาโนเซลลูโลสอิมัลชัน ช่วยลดอัตราการสูญเสียน้ำยืดอายุการเก็บรักษา และชะลอ การเน่าเสียของผักและผลไม้ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 5 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ซึ่งได้แก่ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่เคลือบนาโนเซลลูโลส อิมัลชัน ตำรับการทดลองที่ 2 เคลือบสารเชิงพาณิชย์ ตำรับการทดลองที่ 3 เคลือบนาโนเชลลู โลสอิมัลชันความเข้มข้น 6% ตำรับการทดลองที่ 4 เคลือบนาโนเชลลูโลสอิมัลชันความเข้มข้น 8% และตำรับการทดลองที่ 5 เคลือบนาโนเซลลูโลสอิมัลชันความเข้มข้น 10% วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติแบบ T-test, F-test ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ประมวลข้อมูลจากโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จากการวิจัย พบว่ามะนาวในตำรับการทดลองที่ 1 มีการสูญเสียน้ำหนักมะนาวน้อยที่สุดและมะนาวในตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักมะนาวมากที่สุด จากการสูญเสียน้ำหนักของมะนาวทำให้มะนาวตำรับการทดลองที่ 5 มีปริมาณน้ำคั้นมะนาวมากที่สุด มะม่วงในตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักมะม่วงน้อยที่สุด ทั้งยังมีค่าความหนาแน่นเนื้อของมะม่วงน้อยที่สุด และหน่อไม้ฝรั่งตำรับการทดลองที่ 1 มีการสูญเสียน้ำหนักหน่อไม้ฝรั่งน้อยที่สุดและตำรับการทดลองที่ 5 มีการสูญเสียน้ำหนักหน่อไม้ฝรั่งมากที่สุด | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5245 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | นาโนเซลลูโลส | |
dc.subject | นาโนเซลลูโลสอิมัลชัน | |
dc.subject | จุลินทรีย์ | |
dc.title | การพัฒนานาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ และต้านจุลินทรีย์ที่สามารถบริโภคได้ จากวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเพื่อรักษาคุณภาพและลดการสูญเสียผลผลิต | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3831 |