การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม
dc.contributor.author | อรรถ ขันสี | |
dc.contributor.author | อัศพงษ์ อุประวรรณา | |
dc.contributor.author | สังวาลย์ ชมภูจา | |
dc.contributor.author | จรรยา โท๊ะนาบุตร | |
dc.date.accessioned | 2025-03-25T03:47:14Z | |
dc.date.available | 2025-03-25T03:47:14Z | |
dc.date.issued | 2024-06-20 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม จากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ คือ ขนาดเนื้อว่านหางจระเข้ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร บรรจุในภาชนะขนาด 5 ออนซ์ และใช้กลิ่นรสแอปเปิ้ลเขียว และพิจารณาใช้สีเขียวแอปเปิ้ลเพื่อใช้ศึกษาร่วมกับการแต่งสีและกลิ่น จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม และนำไปวิเคราะห์ทางกายภาพ พบว่า เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมแต่ละสูตรที่พัฒนาขึ้นไม่ส่งผลต่อค่าความสว่าง (L*) ของผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของน้ำตาลสูงขึ้นส่งผลให้ค่าความเป็นสีแดง (a*) ของเนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชิ่อมเพิ่มสูงขึ้น และสูตรที่ได้รับการยอมรับสูงที่สุด คือ เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อมที่มีสัดส่วนน้ำตาล : กรดซิตริก : น้ำเปล่า คือ 60 : 0.5 : 39.5 (ชอบปานกลางถึงชอบมาก) และเมื่อศึกษาการแต่งสีและกลิ่น พบว่า การแต่งสีและกลิ่นส่งผลให้เกิดความชอบของผลิตภัณฑ์สูงยิ่งขึ้น โดยสูตรที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุด คือ สีเขียวแอปเปิ้ลเจือจาง 100 เท่า ร้อยละ 2 ร่วมกับกลิ่นแอปเปิ้ลเขียวร้อยละ 0.01 (ชอบปานกลางถึงชอบมาก) มีอายุการเก็บรักษา 60 วัน โดยมีคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5546 | |
dc.publisher | สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (2024) | |
dc.subject | เนื้อว่านหางจระเข้ | |
dc.subject | น้ำเชื่อม | |
dc.subject | แช่อิ่ม | |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อว่านหางจระเข้ในน้ำเชื่อม | |
mods.location.url | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/276792 |