การพัฒนาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน

dc.contributor.authorศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
dc.contributor.authorรุ่งนภา ป้องเกยรติชัย
dc.contributor.authorอรนุช ชูศรี
dc.contributor.authorรังสรรค์ มาระเพ็ญ
dc.contributor.authorณัฐรพี ใจงาม
dc.date.accessioned2025-07-03T04:00:05Z
dc.date.available2025-07-03T04:00:05Z
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานดานสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2) ศึกษาการจัดการด้านการสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวเด็กปฐมวัย 3) พัฒนาแผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน และ 4) สืบค้นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ ครูพี่เลี้ยง อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และวิธีปฏิบัติที่สะท้อนต่อการสร้างเสริมสุขภาพของครูใหญ่ และครูพี่เลี่ยง แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการของครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย และขอคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ จํานวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ one-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ครูใหญ่ และครูพี่เลี้ยงเด็กส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในศูนย์เด็กเล็ก มากกว่า 10 ปี มีความรู้ และทัศนคติด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 4.09, S.D. = 0.45) และมีวิธีปฏิบัติที่สะท้อน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 3.03, S.D. = 0.55) ระดับดี 2. บิดา มารดา มีการรับรู้ความสามารถในการจัดการส่งเสริมสุขภาพ ความพยายาม และความรวมมือกันของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ย 43.55, 12.43, และ 29.40 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความรวมมือกันของผู้ปกครองในการสงเสริมสุขภาพทั้ง 5 แห่ง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) 3. สภาพการดำเนินงานด้านสร้างเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเขตบางพลัด เป็นไปตามกรอบมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ กระทรวงสาธารณสุข และการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบนฐานความต้องการของครูพี่เลี้ยงและอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ แผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและแผนปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กโดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ อันได้แก่ ด้านผู้นําด้านการบริหารจัดการ ด้านการสร้างเครือข่าย และการสนับสนุน และด้านความรู้ ความสามารถของบุคลากร ข้อเสนอแนะ: ศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมโดยมีบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือสมาชิกครอบครวเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียนโดยเน้นพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารของเด็ก
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7252
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
dc.subjectเด็ก -- การสร้างเสริมสุขภาพ
dc.subjectเด็ก -- การจัดการของครอบครัว
dc.titleการพัฒนาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2764
Files
Collections