รัฐกับนโนทัศน์ทางกฎหมายและการเมือง
dc.contributor.author | ธนภัทร ปัจฉิมม์ | |
dc.contributor.author | รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน | |
dc.date.accessioned | 2025-02-13T04:39:18Z | |
dc.date.available | 2025-02-13T04:39:18Z | |
dc.date.issued | 2020-08 | |
dc.description.abstract | ในบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ว่าด้วยรัฐกับกฎหมายและการเมือง ซึ่งแนวคิด ดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการพิจารณา “รัฐ” ที่ปรากฏขึ้นในมิติของการดำรงอยู่จริงทางกฎหมาย ในขณะที่คำอธิบาย โดยทั่วไปมักพิจารณา “รัฐ” ในฐานะเป็นหน่วยทางสังคมที่ดำรงอยู่แยกต่างหากจาก “กฎหมาย” กล่าวคือ รัฐ จะปรากฏขึ้นในฐานะที่เป็นหน่วยทางการปกครองซึ่งเป็นชุมชนที่มีการรวมกันตัวของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ สังคมและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระในตัวเองและมีอยู่ก่อนกฎหมาย กฎหมายจึงเกิดขึ้นจากการเป็นรัฐที่มีฐานะ ในการดำรงอยู่ของระเบียบทางกฎหมาย และปรากฏขึ้นเป็น “รูปแบบการปกครอง” (Form of Government) แม้ว่าในแต่ละรัฐจะมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันก็ล้วนแต่มีเงื่อนไขและวิธีการสร้างระเบียบทางสังคม และระเบียบทางกฎหมายเฉกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าในสมัยใหม่ สถานที่แห่งใด หรือในวัฒนธรรมใดคำว่า “กฎหมาย” ย่อมมีนัยถึงเทคนิคทางสังคมอันมีรูปแบบเฉพาะของระเบียบที่มีอำนาจบังคับเสมอ ดังนั้น แม้ว่า กฎหมายสังคมโบราณกับสังคมสมัยใหม่ ต่างชาติต่างภาษาที่แตกต่างกันแต่ก็มีแก่นแท้ร่วมกัน คือ การมีเทคนิคทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์มีการกระทำทางสังคมที่เป็นไปในทิศทางที่พึงปราถนา และโดยเหตุวัตถุแห่งการศึกษาของศาสตร์ว่าด้วยกฎหมายและการเมืองนั้นจะไม่สามารถกระทำได้อย่างครบถ้วน หากปราศจากตัวแปรสำคัญคือการพิจารณาจากความเป็นรัฐและกระบวนการทางการเมือง ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดข้อเท็จจริงในชุมชนการเมืองอันเป็นเป้าหมายให้ศาสตร์ด้านกฎหมายมุ่งพรรณาถึงบรรทัดฐานทางกฎหมายทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้น โดยการกระทำในลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคม | |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/3075 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.relation.ispartofseries | 17; 2 | |
dc.subject | มโนทัศน์ | |
dc.subject | รัฐ | |
dc.subject | กฎหมาย | |
dc.subject | การเมือง | |
dc.title | รัฐกับนโนทัศน์ทางกฎหมายและการเมือง | |
dc.type | Article |