การศึกษายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
dc.contributor.author | กัญญทอง หรดาล | |
dc.contributor.author | พรภัทร อินทรวรพัฒน์ | |
dc.contributor.author | ประศาสน์ นิยม | |
dc.contributor.author | รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ | |
dc.date.accessioned | 2025-05-06T07:02:40Z | |
dc.date.available | 2025-05-06T07:02:40Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งข้อมูลเชิงเอกสาร เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างรอบด้านเพื่อตอบโจทย์การวิจัยหลัก คือ การค้นสังเคราะห์ผลการวิจัยยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ในการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ควรมีจุดเน้นในการพัฒนา ดังนี้ 1. พัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะ Business Intelligence (BI) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของพื้นที่ในเขต EEC 2. พัฒนาผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยและในเขตพื้นที่ EEC ในการพัฒนา Business Model ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เหมาะสม 3. จัดทำมาตรการป้องกันผลกระทบเมื่อเกิดภาวะสถานการณ์ไม่ปกติที่มีต่อผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเขตพื้นที่ EEC 4. ประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยในระบบความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC 5. ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อเสริมพลังในการอยู่รอดของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ EEC 6. เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับจังหวัดอื่น ๆ หรือเชื่อมกับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในระดับต่ำ 7. จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ให้กับห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC ให้มีความพร้อมในการยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวตอบสนอง Health and Wellness Economy ในเชิงปฏิบัติ 8. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย 9. การส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการที่นำไปสู่ความร่วมมือในการบรรลุผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐในเขตพื้นที่ EEC ที่ต้องเข้าบูรณาการการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 10. เสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพและความปลอดภัยให้กับพื้นที่ อีกทั้งคณะวิจัยยังเสนอกลยุทธ์เสริมเป็นจุดเน้นในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรองรับวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด -19 ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และยั่งยืนรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นหลังการบรรเทาลงของการระบาดของไวรัสโควิด-19 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Economy) ของพื้นที่ในเขต EEC อย่างครบวงจรเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก 3. สร้างความร่วมมือเชื่อมโยงระหว่างประเทศ/ ภูมิภาค 4. ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวปลอดภัย 5. พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว 6. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC สุดท้ายผู้มีส่วนได้เสียกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขต EEC ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันชี้นำการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ EEC ไปสู่ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวปลอดภัยมีความพร้อมในเชิงอุปทาน ร่วมไปกับการส่งเสริมธุรกิจและการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับ Wellness Economy อย่างไรก็ตามประเทศไทยควรมีมาตรการรองรับที่เป็นรูปธรรมและเข้มงวดต่อการบังคับใช้ในกรณีประเทศต้องฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังวิกฤติโควิด-19 ที่ไม่ทำให้เกิดการระบาดซ้ำในอนาคต จึงต้องพัฒนาเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่ปกติในอนาคต เพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตพื้นที่ EEC เป็นเครื่องยนต์หลักในการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6547 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- วิจัย | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) -- วิจัย | |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- ไทย -- วิจัย | |
dc.subject | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- แง่ยุทธศาสตร์ -- วิจัย | |
dc.subject | การท่องเที่ยว -- วิจัย | |
dc.subject | กลยุทธ์ -- การตลาด -- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- วิจัย | |
dc.title | การศึกษายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3488 |