แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย หนองคาย เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี
dc.contributor.author | นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร | |
dc.contributor.author | กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ | |
dc.contributor.author | อภิญญา ทหราวานิช | |
dc.contributor.author | จารุณี วิเทศ | |
dc.date.accessioned | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.date.available | 2025-07-03T04:00:04Z | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อค้นหาวัตถุดิบท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ และเพื่อหาแนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ชุมชน/ เกษตรกร/ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดละ 12 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน และนักท่องเที่ยว จังหวัดละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วัตถุดิบท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยพิจารณาจากคุณค่าของวัตถุดิบ 3 ด้าน คือ ด้านโภชนาการ คุณค่าด้านเศรษฐกิจ และคุณค่าด้านวัฒนธรรม/วิถีชีวิต ได้รายชื่อวัตถุดิบท้องถิ่น 3 อันดับในแต่ละจังหวัดดังนี้ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผักหวานป่า สับปะรดนางแล ชาอัสสัม จังหวัดหนองคาย ได้แก่ ปลายี่สก ปลาบึก ปลาเผาะ จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ปูม้า มะนาวแป้นรำไพ ปลาอกแล้ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ หอยเจาะ ลางสาด สะตอ 2. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านโภชนาการ โดยนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งในรูปแบบของเมนูอาหารหรือในรูปแบบของขนมขบเคี้ยวที่ผลิตจากวัตถุดิบในแต่ละท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมที่จะบริโภคในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไปในแต่ละระดับอายุ และสามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติของวัตถุดิบท้องถิ่นชนิดนั้นได้ รวมถึงการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณค่าโภชนาการที่จะได้รับอย่างชัดเจน ในขณะที่ตัววัตถุดิบก็ต้องมีความสด สะอาด และปลอดภัยต่อการบริโภคด้วย 3. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำวัตถุดิบท้องถิ่นไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น นำไปทำเป็นซอส น้ำสลัดครีม ทั้งใน ระดับวิสาหกิจชุมชน โอท็อป และระดับอุตสาหกรรม การใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขันเป็นการสร้างทั้งมูลค่าเพิ่มและสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นควรถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าโภชนาการที่มีอยู่ในวัตถุดิบ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพให้กับผู้ประกอบการ 4. แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพด้านวัฒนธรรม/วิถีชีวิต โดยการเชื่อมโยงเรื่องวัฒนธรรมด้านอาหารของท้องถิ่นเข้ากับการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม การอนุรักษ์ให้มีการปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบท้องถิ่นไว้ เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชน เช่น ชาวเรือประมง สวนผักพื้นบ้าน การสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนหรือผู้สนใจให้ได้รู้จักชนิดของวัตถุดิบในแต่ละพื้นที่ เป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/7208 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | |
dc.subject | อาหารท้องถิ่น | |
dc.subject | อาหารเพื่อสุขภาพ | |
dc.title | แนวโน้มการสร้างคุณค่าให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย หนองคาย เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี | |
mods.location.url | https://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2627 |