นวัตกรรมการฝึกอบรมทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการสำหรับบุคลากรวัยทำงาน (Re-Skill/ Up-Skill) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) (ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)

dc.contributor.authorจิรานุช โสภา
dc.contributor.authorพรรณี สวนเพลง
dc.contributor.authorชุติมา จักรจรัส
dc.contributor.authorพิมพ์รวี ทหารแกล้ว
dc.contributor.authorณัฐปรียา โพธิ์พันธุ์
dc.contributor.authorวริษฐา แก่นสานสันติ
dc.contributor.authorศริญญา ประเสริฐสุด
dc.contributor.authorทินกร ชุณหภัทรกุล
dc.date.accessioned2025-04-01T04:20:28Z
dc.date.available2025-04-01T04:20:28Z
dc.date.issued2022
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (Travel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 2) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 30 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้กับบุคคลาการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ผลการวิจัยพบว่า 1) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (Travel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์นำเที่ยว มาสอนให้กับเยาวชนในท้องถิ่น ใช้เวลาในการฝึกอบรม 2 วัน ภาคทฤษฎี 12 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 105 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจมากในทีมวิทยากร เนื้อหาการอบรมสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และมีคาดหวังให้ทางทีมวิจัยต่อยอดการจัดอบรมในหัวข้ออื่น ๆ 2) การฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ส่งผลกระทบต่อการจัดการฝึกอบรมทุนมนุษย์ในธุรกิจการโรงแรม (Hotel service) ด้วยการปรับเปลี่ยนการฝึกอบรม 2 รูปแบบ คือ - การฝึกอบรมในพื้นที่ (Onsite) ให้กับการพนักงานแผนกประกอบอาหาร (Food production) สุขาภิบาลและความปลอดภัยของผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 310 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจมากในทีมวิทยากร เนื้อหาการอบรมสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และมีคาดหวังให้ทางทีมวิจัยต่อยอดการจัดอบรมในหัวข้ออื่น ๆ - การฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ (Online) ด้วยการนำ 6 หลักสูตร ได้แก่ ยุวมัคคุเทศก์ นำเที่ยว พนักงานแผนกแม่บ้าน พนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานแผนกประกอบอาหาร พนักงานแผนกอาหารและเครื่องดื่ม สุขาภิบาลและความปลอดภัยของผู้สัมผัสอาหาร ในแพลตฟอร์มออนไลน์ YouTube : Upskill HCD SDU MOOCs และ SDU MOOCs (ที่ https://mooc.dusit.ac.th/) มีจำนวนคลิปวิดีโอ 200 คลิป ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนได้ทุกเวลา
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/5840
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectการท่องเที่ยว
dc.subjectอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
dc.titleนวัตกรรมการฝึกอบรมทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการสำหรับบุคลากรวัยทำงาน (Re-Skill/ Up-Skill) เพื่อให้รองรับมาตรฐานมาตรฐาน MRA บนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) (ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=3495
Files
Collections