การศึกษาเปรียบเทียบหลักธรรมในศาสนาพุทธ อิสลามและคริสต์ เรื่องการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข : ความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติและแนวทางการเสริมสร้าง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมคนรุ่นใหม่

Date
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Journal Title
การศึกษาเปรียบเทียบหลักธรรมในศาสนาพุทธ อิสลามและคริสต์ เรื่องการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข : ความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติและแนวทางการเสริมสร้าง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมคนรุ่นใหม่
Recommended by
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติตามหลักคําสอน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในระดับบุคคลและระดับชุมชนของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยที่นับถือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ 2. เปรียบเทียบความรู้ ความเชื่อและการปฏิบัติตามหลักคําสอนทางศาสนากับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ และ 3. สร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนรุ่นใหม่และ คนในสังคมไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 35 ปี ในทุกภูมิภาค เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จํานวน 1,212 คน และ สัมภาษณ์เชิงลึก จํานวน 120 คน กระจายกลุ่มตัวอย่าง ตามกลุ่มอาชีพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ %, x ̅, SD, CV, Sk, Ku, MANOVA และ MANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คนรุ่นใหม่ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ มีความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติตามหลักคําสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.52 โดยคนรุ่นใหม่ที่นับถือ ศาสนาคริสต์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.71 รองลงมาคือ ศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ เท่ากับ 5.65 และ 5.38 ตามลําดับ และคนรุ่นใหม่มีความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติตามหลักคําสอนในเรื่องความมีเมตตากรุณาต่อกัน ความซื่อสัตย์ต่อกัน การทําความดี/ละชั่ว/ใฝ่ธรรม การเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นกันในลําดับแรกๆ โดยเห็นคุณค่าในตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นลําดับท้ายๆ คนรุ่นใหม่ที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ มีแนวโน้มที่จะมีความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติตามหลักคําสอนในศาสนาของตน ลดน้อยลงกว่าคนรุ่นก่อนที่มีความเชื่อและยึด มั่นปฏิบัติตามหลักคําสอนทางศาสนาด้วยจิตใจที่ศรัทธาและเชื่อมั่น ในศาสนาของตน 2. คนรุ่นใหม่มีค่าเฉลี่ยของความสันติสุขทั้งระดับบุคคล ระดับชุมชนและโดยรวมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความสันติสุขระดับบุคคลสูงกว่าระดับชุมชน และคนรุ่นใหม่ที่นับถือศาสนา คริสต์ และศาสนาอิสลาม มีความสุขทางใจมากกว่าความสุขทางกาย ส่วนคนที่นับถือศาสนาพุทธมีความสุขทางกายมากกว่าความสุขทางใจ 3. คนรุ่นใหม่ที่นับถือศาสนาต่างกัน คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระดับบุคคลและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระดับชุมชนแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคนรุ่นใหม่ที่นับถือศาสนาต่างกันและมีความความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติ ตามหลักคําสอนแตกต่างกัน มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระดับบุคคล และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขระดับชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนรุ่นใหม่และคนในสังคมไทยที่ นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ต้องใช้องค์ประกอบจากหลายส่วนคือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันสื่อสารมวลชน และ สื่อออนไลน์ หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ต้องทํางานร่วมกันแบบบูรณาการ และต้องทําอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังสัมฤทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องปรับรูปแบบกิจกรรม “บ้าน วัด โรงเรียน” ในรูปแบบที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคม เพื่อส่งเสริมให้คนในสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป