การสร้างแบบจำลองการตกค้างและการแพร่กระจายของสารกลุ่ม Personal Care Products ในน้ำผิวดิน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

dc.contributor.authorพรธิดา เทพประสิทธิ์
dc.contributor.authorอนิรุทธ์ ศรีเลขา
dc.contributor.authorสาวิตรี ม่วงศรี
dc.contributor.authorธวัชชัย ศรีสอาด
dc.contributor.authorฐปนรรฆ์ ฮาบสุวรรณ์
dc.date.accessioned2025-05-16T05:52:14Z
dc.date.available2025-05-16T05:52:14Z
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้ได้ดำเนินการขึ้นเพื่อศึกษาการแพร่กระจายของสารกลุ่ม Personal Care Products จากแหล่งกำเนิดไปสู่แหล่งน้ำผิวดิน และตะกอนดินในลำน้ำ รวมทั้งเพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการตกค้างและแพร่กระจายของสารกลุ่มดังกล่าว โดยมีการใช้อาคารหอพักนักศึกษา จำนวน 3 อาคาร ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นตัวแทนแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีผู้พักอาศัยอยู่ในช่วง 467-530 คน โดยได้มีการติดตามตรวจสอบสารกลุ่ม Personal Care Products จากน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละอาคาร รวมทั้งติดตามการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ลำน้ำบริเวณใกล้เคียง โดยติดตามการแพร่กระจายเป็นระยะทาง 400 เมตร ตามทิศทางการไหลของน้ำ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพฤติกรรมและความตระหนักรู้ต่อผลกระทบของการใช้ผลิตภัณฑ์ Personal Care Products ในตัวแทนกลุ่มผู้พักอาศัยจำนวน 266 ตัวอย่าง ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละอาคารมีการปนเปื้อนสารกลุ่ม Personal Care Products โดยเฉพาะกลุ่ม UV filters ชนิด Octinoxate (8.631-77.084 มิลลิกรัม/ลิตร) และ Benzophenone-4 (19.521-65.751 มิลลิกรัม/ลิตร) ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.50 มีการใช้ผลิตภัณฑ์ Personal Care Products โดยร้อยละ 81.07 มีการใช้เป็นประจำทุกวัน เมื่อพิจารณาการแพร่ กระจายสู่สิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงพบการแพร่กระจายสู่ลำน้ำอยู่ในช่วง 0.692-3.988 กิโลกรัม/วัน โดยมีการสะสมตัวในตัวอย่างตะกอนของลำน้ำมากกว่าในตัวอย่างน้ำ โดยมีปริมาณสารกลุ่ม UV filters ที่วิเคราะห์พบลดลงตามระยะทางที่ห่างออกจากแหล่งกำเนิด ซึ่งตะกอนตัวอย่างบริเวณจุดปล่อยน้ำทิ้งมีปริมาณสารอยู่ในช่วง 2.765-157.330 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ระยะห่างจากจุดปล่อยน้ำทิ้ง 200 เมตร มีค่า 61.863-97.173 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และที่ระยะห่างจากจุดปล่อยน้ำทิ้ง 400 เมตร มีค่าลดลงอยู่ในช่วง 17.228-50.385 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งการสะสมตัวในสิ่งแวดล้อมของสารกลุ่ม UV filtters ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ส่วนแนวทางในการควบคุมและลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของสาร Personal Care Products ออกสู่สิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งแนวทางการดำเนินงานออกได้ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นเรื่องพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ Personal Care Products ของผู้พักอาศัยในอาคารหอพัก ควรที่จะให้ความรู้ สร้างความตระหนักต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่วนที่ 2 การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารหอพัก ควรที่จะมีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพและสภาพของระบบบำบัดน้ำทิ้ง รวมทั้งพัฒนารูปแบบระบบบำบัดให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ตะกอนที่เกิดมาจากระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญที่มีการสะสมตัวของสารกลุ่ม Personal Care Products ก็ควรที่จะมีมาตรการในการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมอีกช่องทางหนึ่ง
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th/handle/123456789/6700
dc.publisherมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
dc.subjectสารเคมี
dc.subjectสิ่งแวดล้อม
dc.subjectสารปนเปื้อน
dc.titleการสร้างแบบจำลองการตกค้างและการแพร่กระจายของสารกลุ่ม Personal Care Products ในน้ำผิวดิน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
mods.location.urlhttps://ebooks.dusit.ac.th/detail.php?recid=2445
Files
Collections