ขนมไทยมิติด้านประเพณี

dc.contributor.authorฉัตรชนก บุญไชย
dc.date.accessioned2025-02-26T06:38:33Z
dc.date.available2025-02-26T06:38:33Z
dc.date.issued2021-12-04
dc.description.abstractการรับประทานขนมของคนไทยสมัยก่อน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในงานเทศกาลงานประเพณีทางศาสนา หรือ การประกอบพิธีกรรมต่างๆ ส่วนที่เห็นมีขนมหลากหลายประเภทให้ได้รับประทานหลังอาหารคาวนั้นก็ล้วนแต่คิดทำขึ้นมาภายหลัง รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการทูตก็ถูกดัดแปลงให้มีรสชาติและลักษณะเป็นแบบไทย ส่วนผสมของขนมในยุคแรกๆ มีเพียงแป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลมะพร้าว และมะพร้าว เป็นหลัก แต่งสี และกลิ่นจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือ ที่หาได้ง่ายจากใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้ แต่เมื่อมีการรับวัฒนธรรมมาจากต่างชาติ ทำให้รูปแบบของขนมไทยเปลี่ยนแปลงไป ในสมัยอยุธยาท้าวทองกีบม้าภรรยาของพระยาวิชาเยนทร์ได้เป็นผู้กำกับการชาวเครื่องพนักงานของหวาน ได้สอนให้ชาวสยามทำของหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองม้วน ขนมหม้อแกง ขนมหวานเหล่านี้ไม่ได้ใช้น้ำตาลปึก หรือ น้ำตาลโตนดอย่างขนมไทยแท้ แต่ใช้น้ำตาลทรายละเอียดแทน นับว่าเป็นจุดที่พลิกเปลี่ยนโฉมหน้าของขนมไทยครั้งสำคัญ เพราะมีการใช้ไข่มาเป็นส่วนประกอบหลัก มีการใช้น้ำตาลทรายมาเป็นส่วนประกอบรอง จากการคิดค้นและผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้นไม่หยุดนิ่ง จึงเกิดวิธีทำขนมที่หลากหลาย และน่ารับประทาน ตามความเชื่อถือของคนไทยตั้งแต่โบราณมานั้นขนมที่ใช้เลี้ยงพระเลี้ยงแขกในงานมงคล จะต้องมีชื่อแฝงด้วยความหมายเป็นสิริมงคลต่างๆ
dc.identifier.urihttps://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4199
dc.publisherวารสารวัฒนธรรมอาหารไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม - มิถุนายน 2563
dc.subjectขนมไทย
dc.subjectประเพณี
dc.subjectงานมงคล
dc.titleขนมไทยมิติด้านประเพณี
mods.location.urlhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jfood/article/view/255593
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
SCA_ART_2021_008.pdf
Size:
5.22 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Default Image
Name:
license.txt
Size:
371 B
Format:
Item-specific license agreed to upon submission
Description:
Collections