บทบาทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
dc.contributor.author | ศักดา ศรีทิพย์ | |
dc.date.accessioned | 2025-02-21T08:15:09Z | |
dc.date.available | 2025-02-21T08:15:09Z | |
dc.date.issued | 2022-12-20 | |
dc.description.abstract | รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทั้งปวง เป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐ และยังกำหนดสถานะความสัมพันธ์ ขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต่อกันและต่อประชาชน รัฐธรรมนูญจึงเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม โดยตรง ในฐานะที่เป็นโครงสร้างหลักของระบบเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของ ภาคเอกชน รัฐจะให้สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจแก่เอกชนก็ตาม แต่กฎกติกาต่าง ๆ ล้วนมาจากภาครัฐ ทั้งสิ้น หลักเกณฑ์บางอย่างก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิด ปัญหาทางสังคม หลักเกณฑ์บางอย่างเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน ซึ่งผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมมีดุลยภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางการค้าและการลงทุน การให้สิทธิในทรัพย์สินซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต เสรีภาพในการประกอบกิจการหรืออาชีพ และเสรีภาพ ในการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรม อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องมีการรับรองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความเหลื่อมลำ้กัน กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม รัฐธรรมนูญก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป | |
dc.identifier.issn | 30277919 | |
dc.identifier.uri | https://repository.dusit.ac.th//handle/123456789/4037 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร | |
dc.relation.ispartofseries | ปีที่ 13 ; ฉบับที่ 2 | |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ | |
dc.subject | เศรษฐกิจ | |
dc.subject | สังคม | |
dc.title | บทบาทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม | |
mods.location.url | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/251895/172129 |