5 ภูมิวัฒนธรรม ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
Loading...
Date
2024-12-01
ISBN
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Resource Type
Book
Publisher
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง
Journal Title
5 ภูมิวัฒนธรรม ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง
Authors
Recommended by
Abstract
เที่ยวบ้านป่าเหมี้ยงทั้งที ก็ต้องเที่ยวกันแบบมีภูมิ
เริ่มกันที่ภูมิหลัง ว่ากันว่า บ้านป่าเหมี้ยงแห่งนี้มีเรื่องราวเล่าขานจากคนในชุมชน เกี่ยวกับประวัติที่มาของหมู่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 – 300 ปีมาแล้ว ว่า มีฤๅษี 2 ตน มาปฏิบัติธรรม บนเขา ขณะนั่งปฏิบัติธรรม แต่มีตนหนึ่งรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน จึงถามฤาษีอีกตนหนึ่งที่สามารถนั่งปฏิบัติธรรมได้อย่างปกติ ว่า “ท่านไปฉันอะไรมา จึงไม่ง่วงนอน” ฤๅษีอีกตนจึงได้ตอบไปว่า “ฉันใบไม้” นั่นก็คือ “ใบเหมี้ยง” อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นั่นเอง
จากภูมิหลัง มาต่อกันด้วย ภูมิวงศ์ หรือต้นตระกูลของบุคคลสาคัญที่มีบทบาทต่อชุมชน นั่นคือ “ตระกูลข้อมือเหล็ก” โดยในยุคเริ่มแรกของการปกครองบ้านป่าเหมี้ยงใต้การนาของ “พ่อหลวงหวัน ข้อมือเหล็ก” ผู้นาคนแรกของชุมชน และมี “หลวงธิกับหลวงเครื่อง” ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน กระทั่งมีการสืบทอดเชื้อสายผ่านระบบเครือญาติมาอย่างยาวนานกระทั่งปัจจุบัน โดยสายตระกูลสาคัญ อาทิ ตระกูลจันทร์งาม (มีมากที่สุด) รองลงมา ตระกูลข้อมือเหล็ก ตระกูลมักได้ และตระกูลเทพสิงห์ ตามลำดับ
การตั้งบ้านเรือนในยุคนั้นเริ่มต้นมีประมาณ 25 หลังคาเรือน กลุ่มคนที่ทยอยอพยพเข้ามา มีจาก หลากหลายพื้นที่ ทั้งคนเมือง ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นลำปางดั้งเดิม คนขมุ (จากฝั่งลาว) คนม่าน หรือชาวเงี้ยว เป็นต้นต่อกันด้วยภูมิเมือง ว่าด้วยเรื่องการประกอบอาชีพ หรือ การทำมาหากินของคนบ้านป่าเหมี้ยงซึ่งจากชื่อและที่มาของชุมชน ก็อาจเดาได้ไม่ยากว่า อาชีพหลักของคนในชุมชนแห่งนี้ คือ การทำเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก รวมถึงการทำชาจากใบเหมี้ยง การแปรรูปหมอนใบชา และการปลูกกาแฟแซมสวนเหมี้ยง จึงทำให้หมู่บ้านป่าเหมี้ยงนี้ มีความโดดเด่นมาก ในการเป็นแหล่งชาและกาแฟที่สำคัญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือของประเทศไทย
เมื่อ การทำเหมี้ยง คือ อาชีพหลักของคนในชุมชน เพราะฉะนั้นหนึ่งใน ภูมิปัญญา ที่สำคัญของก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก และวัฒนธรรมการกินเหมี้ยง กระทั่งสื่อผ่านออกมาเพื่อถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่คนรุ่นหลัง ในรูปแบบของศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เรียกว่า ฟ้อนเก็บเหมี้ยง
ปิดท้ายกันด้วย ภูมิธรรม กลไกแห่งศรัทธาที่ช่วยยึดโยงคนในชุมชนให้สามารถสร้างพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ ภายใต้หลักการจัดการชุมชนแบบ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน กับพื้นที่ศูนย์กลางความเชื่อ อย่าง ศาลเจ้านาย หรือ ศาลเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก อันเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และ วัดป่าเหมี้ยง หรือ วัดศรีบุญชุม วัดประจาหมู่บ้าน สถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรมประเพณีทางศาสนาที่สำคัญต่างๆ ของชุมชน
Description
เที่ยวบ้านป่าเหมี้ยงทั้งที ก็ต้องเที่ยวกันแบบมีภูมิ
เริ่มกันที่ภูมิหลัง ว่ากันว่า บ้านป่าเหมี้ยงแห่งนี้มีเรื่องราวเล่าขานจากคนในชุมชน เกี่ยวกับประวัติที่มาของหมู่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 – 300 ปีมาแล้ว ว่า มีฤๅษี 2 ตน มาปฏิบัติธรรม บนเขา ขณะนั่งปฏิบัติธรรม แต่มีตนหนึ่งรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน จึงถามฤาษีอีกตนหนึ่งที่สามารถนั่งปฏิบัติธรรมได้อย่างปกติ ว่า “ท่านไปฉันอะไรมา จึงไม่ง่วงนอน” ฤๅษีอีกตนจึงได้ตอบไปว่า “ฉันใบไม้” นั่นก็คือ “ใบเหมี้ยง” อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นั่นเอง
จากภูมิหลัง มาต่อกันด้วย ภูมิวงศ์ หรือต้นตระกูลของบุคคลสาคัญที่มีบทบาทต่อชุมชน นั่นคือ “ตระกูลข้อมือเหล็ก” โดยในยุคเริ่มแรกของการปกครองบ้านป่าเหมี้ยงใต้การนาของ “พ่อหลวงหวัน ข้อมือเหล็ก” ผู้นาคนแรกของชุมชน และมี “หลวงธิกับหลวงเครื่อง” ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน กระทั่งมีการสืบทอดเชื้อสายผ่านระบบเครือญาติมาอย่างยาวนานกระทั่งปัจจุบัน โดยสายตระกูลสาคัญ อาทิ ตระกูลจันทร์งาม (มีมากที่สุด) รองลงมา ตระกูลข้อมือเหล็ก ตระกูลมักได้ และตระกูลเทพสิงห์ ตามลำดับ
การตั้งบ้านเรือนในยุคนั้นเริ่มต้นมีประมาณ 25 หลังคาเรือน กลุ่มคนที่ทยอยอพยพเข้ามา มีจาก หลากหลายพื้นที่ ทั้งคนเมือง ซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นลำปางดั้งเดิม คนขมุ (จากฝั่งลาว) คนม่าน หรือชาวเงี้ยว เป็นต้นต่อกันด้วยภูมิเมือง ว่าด้วยเรื่องการประกอบอาชีพ หรือ การทำมาหากินของคนบ้านป่าเหมี้ยงซึ่งจากชื่อและที่มาของชุมชน ก็อาจเดาได้ไม่ยากว่า อาชีพหลักของคนในชุมชนแห่งนี้ คือ การทำเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก รวมถึงการทำชาจากใบเหมี้ยง การแปรรูปหมอนใบชา และการปลูกกาแฟแซมสวนเหมี้ยง จึงทำให้หมู่บ้านป่าเหมี้ยงนี้ มีความโดดเด่นมาก ในการเป็นแหล่งชาและกาแฟที่สำคัญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือของประเทศไทย
เมื่อ การทำเหมี้ยง คือ อาชีพหลักของคนในชุมชน เพราะฉะนั้นหนึ่งใน ภูมิปัญญา ที่สำคัญของก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเหมี้ยง ตั้งแต่การปลูก เก็บ หมัก และวัฒนธรรมการกินเหมี้ยง กระทั่งสื่อผ่านออกมาเพื่อถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่คนรุ่นหลัง ในรูปแบบของศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เรียกว่า ฟ้อนเก็บเหมี้ยง
ปิดท้ายกันด้วย ภูมิธรรม กลไกแห่งศรัทธาที่ช่วยยึดโยงคนในชุมชนให้สามารถสร้างพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ ภายใต้หลักการจัดการชุมชนแบบ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน กับพื้นที่ศูนย์กลางความเชื่อ อย่าง ศาลเจ้านาย หรือ ศาลเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก อันเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ และ วัดป่าเหมี้ยง หรือ วัดศรีบุญชุม วัดประจาหมู่บ้าน สถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรมประเพณีทางศาสนาที่สำคัญต่างๆ ของชุมชน