SLP-Proceeding Document
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Item ธนาคารความดีกับการเสริมสร้างความดี : กรณีศึกษาธนาคารความดี ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี(รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 57 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว และสหวิทยาการ สมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, 2022-09-14) ภาวินี รอดประเสริฐการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการเสริมสร้างความดีของธนาคารความดี ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากเอกสาร (Documentary Analysis) ร่วมด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ส่วนการวิเคราะห์จะวิเคราะห์จากทฤษฎีเป็น ฐานราก ส่วนข้อมูลในภาคสนามเป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์หลังการปฏิบัติในการสนทนากลุ่มย่อย ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงครั้งสุดท้ายที่ลงพื้นที่ทำการวิจัย สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ธนาคารความดี ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีการจัดกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างความดี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการระดมความ คิดเห็นของชาวบ้านในตำบลหนองสาหร่าย โดยเป็นกิจกรรมที่จัดให้ชาวบ้านได้ทำงานร่วมกันและจัดให้กับเยาวชน เพราะ เยาวชนจะเป็นผู้ที่เติบโตขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการที่จะพัฒนาตำบลหนองสาหร่ายให้มีความก้าวหน้าต่อไป โดยกิจกรรมคือ การชักชวนให้ประชาชนเข้าร่วมทำความดี โดยใช้ความดีเป็นเครื่องมือชักชวน สร้างเครือข่ายชาวบ้าน ใช้ความดีค้ำประกันในการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินชุมชนในรูปแบบของธนาคารความดี โดยมีกระบวนการใช้ทุนความ ดีเพื่อเสริมสร้างประชาชนให้เป็นเครือข่ายในการทำความดี ดังนี้ 1. กระบวนการจัดการภายในชุมชน ประกอบด้วย กระบวนการกลุ่ม กระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการสร้าง ผู้นำ กระบวนการสร้างการสื่อสาร 2. กระบวนการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน โดยการเรียนรู้จากชุมชนภายนอกที่ประสบผลสำเร็จและนำมา ปรับใช้กับชุมชนตนเอง โดยใช้ทุนความดีของชุมชน ประกอบด้วย คุณธรรมระดับบุคคล คุณธรรมระดับกลุ่ม และ คุณธรรมระดับชุมชน ส่วนปัจจัยที่ทำให้กระบวนการดำเนินงานของธนาคารความดี ตำบลหนองสาหร่ายประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 1. การทำแผนแม่บทชุมชน 2. การเชื่อมโยงประเด็นปัญหากับหลักพุทธศาสนา 3. หลักการที่เน้นความสุขของคนนำการพัฒนา 4. ศรัทธา เชื่อมั่น มั่นใจ ในศาสนาและการพัฒนาเพื่อความสุขที่ยั่งยืน 5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกัน รับผิดชอบและร่วมเป็นเจ้าของ เรียนรู้ ร่วมกัน ข้อเสนอแนะ ธนาคารความดีที่เกิดขึ้นมีส่วนทำให้คนในชุมชนทำความดีเพิ่มขึ้น เมื่อทำความดีมากขึ้นและ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด เพราะกลายเป็นว่าการทำความดีเป็นเรื่องปกติที่ทุก คนก็ทำกัน การที่จะดำเนินสถาบันการเงินในรูปแบบของธนาคารความดีต้องอาศัยความไว้วางใจและหลักการบริหาร จัดการมาช่วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้องดูแลเรื่องของเศรษฐกิจพื้นฐานในการดำรงชีวิต ไม่ให้เกิดปัญหาเรื่อง ปากท้อง สถาบันการเงินรูปแบบของธนาคารความดีจึงจะมีความยั่งยืนItem คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์(รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2566 50 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์, 2023-07-21) กวินนา เจ๊กสูงเนิน; ธีรภัทร กิจจารักษ์; สุภชัย ตรีทศ; อรุณ สนใจ; กมลวิช ลอยมา; ดังนภสร ณ ป้อมเพชรบุคลากรของเทศบาลตำบลหนองไผ่ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญ ต้องได้รับการบริหารจัดการอย่าง มีคุณค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร เทศบาลตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจาก ประชากร จำนวนทั้งสิ้น 127 คน เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจาก ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมพบว่า ในภาพรวมมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี (X = 3.81, σ = 0.39) เมื่อเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านการบูรณา การทางสังคม หรือการทำงานร่วมกัน ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านโอกาสใน การพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ข้อเสนอแนะ เทศบาลตำบลหนองไผ่ และบุคลากรควรร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรให้ดีขึ้นครอบคลุมทุกด้าน